20121128

ความหมายของ “วัฒนธรรม”

ความหมายของ “วัฒนธรรม”



               วัฒนธรรม โดยทั่วไปหมายถึง รูปแบบของกิจกรรมมนุษย์และโครงสร้างเชิงสัญลักษณ์ที่ทำให้กิจกรรมนั้นเด่นชัดและมีความสำคัญ วิถีการดำเนินชีวิต ซึ่งเป็นพฤติกรรมและสิ่งที่คนในหมู่ผลิตสร้างขึ้น ด้วยการเรียนรู้จากกันและกัน และร่วมใช้อยู่ในหมู่พวกของตน
วัฒนธรรมส่วนหนึ่งสามารถแสดงออกผ่าน ดนตรี วรรณกรรม จิตรกรรม ประติมากรรม การละครและภาพยนตร์ แม้บางครั้งอาจมีผู้กล่าวว่าวัฒนธรรมคือเรื่องที่ว่าด้วยการบริโภคและสินค้าบริโภค เช่น วัฒนธรรมระดับสูง วัฒนธรรมระดับต่ำ วัฒนธรรมพื้นบ้าน หรือวัฒนธรรมนิยม เป็นต้น แต่นักมานุษยวิทยาโดยทั่วไปมักกล่าวถึงวัฒนธรรมว่า มิได้เป็นเพียงสินค้าบริโภค แต่หมายรวมถึงกระบวนการในการผลิตสินค้าและการให้ความหมายแก่สินค้านั้น ๆ ด้วย ทั้งยังรวมไปถึงความสัมพันธ์ทางสังคมและแนวการปฏิบัติที่ทำให้วัตถุและกระบวนการผลิตหลอมรวมอยู่ด้วยกัน ในสายตาของนักมานุษยวิทยาจึงรวมไปถึงเทคโนโลยี ศิลปะ วิทยาศาสตร์รวมทั้งระบบศีลธรรม
วัฒนธรรมในภูมิภาคต่าง ๆ อาจได้รับอิทธิพลจากการติดต่อกับภูมิภาคอื่น เช่น การเป็นอาณานิคม การค้าขาย การย้ายถิ่นฐาน การสื่อสารมวลชนและศาสนา อีกทั้งระบบความเชื่อ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องศาสนามีบทบาทในวัฒนธรรมในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติมาโดยตลอด
ประเภทของวัฒนธรรม
วัฒนธรรม แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

    วัฒนธรรมทางวัตถุ คือ เครื่องมือ เครื่องใช้ ที่มนุษย์ใช้ในชีวิตประจำวันเพื่อความสุขทางกาย อันได้แก่ ยานพาหนะ ที่อยู่อาศัย ตลอดจนเครื่องป้องกันตัวให้รอดพ้นจากอันตรายทั้งปวง
    วัฒนธรรมทางจิตใจ เป็นเรื่องเกี่ยวกับเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจของมนุษย์ เพื่อให้เกิดปัญญาและมีจิตใจที่งดงาม อันได้แก่ ศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม คติธรรม ตลอดจนศิลปะ วรรณคดี และระเบียบแบบแผนของขนบธรรมเนียมประเพณี[1]

นักมานุษยวิทยาส่วนใหญ่มักใช้คำ "วัฒนธรรม" ไปในเชิงของวิสัยสามารถของคนทั่วไปในการบ่งชี้ จัดหมวดหมู่และสื่อถึงประสบการณ์ของตนในลักษณะเชิงสัญลักษณ์ คนเราใช้วิสัยสามารถดังกล่าวสำหรับบ่งชี้เรื่องราวและสิ่งต่างๆ ที่เกิดในหมู่มนุษย์ด้วยกันมานานมากแล้ว อย่างไรก็ตาม นักวานรวิทยาหรือไพรเมตวิทยาก็ได้บ่งชี้ลักษณะวัฒนธรรมดังกล่าวในวานรหรือไพรเมตซึ่งเป็นกลุ่มสัตว์ที่มีสายพันธุ์ใกล้ชิดกับมนุษย์มากที่สุดมานานแล้วเช่นกัน  และโดยนักโบราณคดีจะมุ่งเฉพาะไปที่วัฒนธรรมที่เป็นเรื่องราวเท่านั้น (ซากเรื่องราวที่เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์) ขณะเดียวกัน นักมานุษยวิทยาสังคมก็มองไปที่ปฏิสัมพันธ์ของสังคม สถานภาพและสถาบัน ส่วนนักมานุษยวิทยาวัฒนธรรมก็เน้นที่บรรทัดฐานและคุณค่า
การแบ่งแยกแนวกันนี้ แสดงให้เห็นถึงเงื่อนไขที่แตกต่างกันที่ขึ้นอยู่กับงานที่ต่างกันของนักมานุษยวิทยา และความจำเป็นที่จะต้องมุ่งเน้นจุดการวิจัยที่ต้องชัดเจน จึงไม่จำเป็นว่าจะเป็นการสะท้อนถึงทฤษฎีของวัฒนธรรมซึ่งย่อมแตกต่างไปตามเชิงของเรื่องราว เชิงสังคม และเชิงบรรทัดฐาน (norm) รวมทั้ง ไม่จำเป็นต้องสะท้อนถึงการแข่งขันกันเองในระหว่างทฤษฎีต่าง ๆ ของวัฒนธรรม
แนวความคิดที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรม
คำว่า "วัฒนธรรม" ในภาษาไทย มาจากคำสองคำ คำว่า "วัฒน" จากคำศัพท์ วฑฺฒน" ในภาษาสันสกฤต หมายถึงความเจริญ ส่วนคำว่า "ธรรม" มาจากคำศัพท์ "ธรฺม" ในภาษาสันสกฤต หมายถึงความดี เมื่อนำสองคำมารวมกันจึงได้คำว่า "วัฒนธรรม" หมายถึงความดีอันจะก่อให้เกิดความงอกงามที่เป็นระเบียบเรียบร้อย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ได้ให้ความหมายของวัฒนธรรมไว้ว่าเป็น "สิ่งที่ทำให้เจริญงอกงามแก่หมู่คณะ, วิถีชีวิตของหมู่คณะ , ในพระราชบัญญัติวัฒนธรรม พ.ศ. 2485 หมายถึงลักษณะที่แสดงถึงความเจริญงอกงาม ความเป็นระเบียบเรียบร้อย ความกลมเกลียวก้าวหน้าของชาติ และศีลธรรมอันดีของประชาชน, ทางวิทยาการ หมายถึงพฤติกรรมและสิ่งที่คนในหมู่ผลิตสร้างขึ้นด้วยการเรียนรู้จากกันและกัน และร่วมใช้อยู่ในหมู่ของตน" แต่ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 ให้นิยามไว้ว่า "สิ่งที่ทำความเจริญงอกงามให้แก่หมู่คณะ เช่นวัฒนธรรมพื้นบ้าน วัฒนธรรมชาวเขา" คำว่า "วัฒนธรรม" ในภาษาไทยตามความหมายนี้ใกล้เคียงกับคำว่า "อารยธรรม" ส่วนคำว่า "culture" ในภาษาอังกฤษ ที่แปลว่าวัฒนธรรมนั้น มาจากภาษาละตินcultura" ซึ่งแยกมาจากคำ "colere" ที่แปลว่า การเพาะปลูกส่วนความหมายทั่วไปในสากล หมายถึงรูปแบบของกิจกรรมมนุษย์และโครงสร้างเชิงสัญลักษณ์ที่ทำให้กิจกรรมนั้นเด่นชัดและมีความสำคัญ คำว่า "
มีการกล่าวถึงวัฒนธรรมว่าเป็น "หนทางทั้งหมดแห่งการดำเนินชีวิต" ซึ่งรวมถึงกฎกติกาแห่งกิริยามรรยาท การแต่งกาย ศาสนา พิธีกรรม ปทัสถานแห่งพฤติกรรม เช่น กฎหมายและศีลธรรม ระบบของความเชื่อรวมทั้งศิลปะ เช่น ศิลปะการทำอาหาร
การนิยามที่หลากหลายนี้สะท้อนให้เห็นถึงความแตกต่างของทฤษฎีที่จะทำให้เกิดความเข้าใจ หรือทำให้เกิดเกณฑ์เพื่อใช้ในการประเมินกิจกรรมของมนุษย์ โดยในปี พ.ศ. 2414 เอ็ดเวิร์ด เบอร์เนต ไทเลอร์ ได้พรรณนาถึงวัฒนธรรมในมุมมองด้านมานุษยวิทยาสังคม ไว้ว่า "วัฒนธรรม หรือ อารยธรรม หากมองในเชิงชาติพันธุ์วรรณนาอย่างกว้าง ๆ ก็คือ ความทับซ้อนกันระหว่างความรู้ ความเชื่อ ศิลปะ ศีลธรรม กฎหมาย ประเพณีและสมรรถนะอื่นที่มนุษย์ต้องการแสวงหาเพื่อการเป็นสมาชิกของสังคม"
เมื่อปี พ.ศ. 2543 ยูเนสโก ได้พรรณนาถึงวัฒนธรรมไว้ว่า "...วัฒนธรรมควรได้รับการยอมรับว่าเป็นชุดที่เด่นชัดของจิตวิญญาณ เรื่องราว สติปัญญาและรูปโฉมทางอารมณ์ของสังคม หรือกลุ่มสังคม ซึ่งได้หลอมรวมเพิ่มเติมจากศิลปะ วรรณคดี การดำเนินชีวิต วิถีชีวิตของการอยู่ร่วมกัน ระบบคุณค่า ประเพณีและความเชื่อ"
ถึงแม้ว่าการนิยามความหมายคำว่า "วัฒนธรรม" ของทั้งสองจะครอบคลุมแล้ว แต่ก็ยังไม่เพียงพอสำหรับคำว่า "วัฒนธรรม" ที่มีการใช้กันอยู่ ในปี พ.ศ. 2495 อัลเฟรด ครูเบอร์ และไคลด์ คลักคอห์น ได้รวบรวมนิยามของคำ "วัฒนธรรม" ได้ถึง 164 ความหมาย ซึ่งได้ตีพิมพ์ลงในหนังสือเรื่อง "วัฒนธรรม: การทบทวนเชิงวิกฤติว่าด้วยมโนทัศน์และนิยาม" (Culture: A Critical Review of Concepts and Definitions)
นิยามดังกล่าวนี้ และอีกหลายนิยามช่วยทำให้เกิดองค์ประกอบของรายการวัฒนธรรม เช่น กฎหมาย เครื่องมือสมัยหิน การแต่งงาน ฯลฯ แต่ละอย่างนี้มีการเกิดและมีความไปเป็นชุดของมันเอง ซึ่งจะเกิดเป็นช่วงเวลาในชุดหนึ่งที่หลอมประสานกันแล้วก็ผ่านออกไปเป็นชุดอย่างอื่น ในขณะที่ยังเป็นชุด มันก็จะเปลี่ยนแปลงไปทำให้เราสามารถพรรณนาได้ถึงวิวัฒนาการของกฎหมาย เครื่องมือฯ และการแต่งงานดังกล่าวได้
ดังนั้น โดยนิยามแล้ว วัฒนธรรมก็คือชุดของเรื่องราวทางวัฒนธรรม นั่นเอง นักมานุษยวิทยาเลสลี ไวท์ ตั้งคำถามไว้ว่า "เรื่องราวเหล่านั้นคืออะไรกันแน่?" เป็นเรื่องราวทางกายภาพหรือ? หรือเป็นเรื่องราวทางจิตใจ ทั้งสองอย่าง? หรือเป็นอุปลักษณ์? ในหนังสือเรื่อง "วิทยาศาสตร์แห่งวัฒนธรรม" (Science Of Culture 2492) ไวท์สรุปว่ามันคือเรื่องราว "sui generis" นั่นคือ การเป็นชนิดของมันเอง ในการนิยามคำว่า ชนิด ไวท์มุ่งไปที่ "การสร้างสัญลักษณ์ซึ่งเป็นประเด็นที่ไม่มีผู้ใดตระหนักถึงมาก่อน ซึ่งเขาเรียกว่า "ซิมโบเลท" (the symbolate) คือ เรื่องราวที่เกิดจากการกระทำที่สร้างสัญลักษณ์ ดังนั้น ไวท์จึงนิยามว่า "วัฒนธรรม คือ ซิมโบเลทในเชิงของบริบทนอกกาย" คำสำคัญของนิยามนี้จึงได้แก่การค้นพบซิมโบเลทนั่นเอง
ในการใฝ่หานิยามที่ใช้การได้ นักทฤษฎีสังคมชื่อ ปีเตอร์ วอลเตอร์ กล่าวง่าย ๆ ว่า วัฒนธรรมเป็น "การแลกเปลี่ยนเค้าร่างของประสบการณ์" ซึ่งรวมถึงแต่ไม่จำกัดเฉพาะ ภาษาศาสตร์ ศิลปะ ศาสนาและอื่น ๆ รวมทั้ง นิยามก่อน ๆ
วัฒนธรรมในเชิงของอารยธรรม
ในปัจจุบันคนจำนวนมากมีความคิดทางวัฒนธรรมที่พัฒนามาจากวัฒนธรรมของยุโรปช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 18 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 (ประมาณระหว่าง พ.ศ. 2244 – พ.ศ. 2373) ซึ่งประมาณได้ว่าตรงกับแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ถึงพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย วัฒนธรรมที่พัฒนาในช่วงระหว่างนี้เน้นถึงความไม่เท่าเทียมกันทางสังคมในยุโรปเองและในระหว่างประเทศมหาอำนาจกับประเทศอาณานิคมทั่วโลกของตน ใช้ตัวบ่งชี้วัฒนธรรมด้วย "อารยธรรม" แยกความเปรียบต่างของวัฒนธรรมด้วย "ธรรมชาติ" และใช้แนวคิดนี้มาเป็นตัวชี้วัดว่าประเทศหรือชาติใดมีอารยธรรมมากกว่าชาติใด บุคคลใดมีวัฒนธรรมมากน้อยกว่ากัน ดังนั้น จึงมีนักทฤษฎีวัฒนธรรมบางคนพยามยามที่แยกวัฒนธรรมมวลชน หรือวัฒนธรรมนิยมออกจากการนิยามของวัฒนธรรม นักทฤษฎี เช่น แมททิว อาร์โนลด์ (พ.ศ. 2365 - พ.ศ. 2341) มองว่าวัฒนธรรมเป็นเพียง "ความคิดและการพูดที่ดีที่สุดที่ได้เกิดขึ้นมาบนโลก" อาร์โนลด์ได้แยกแยะให้เห็นความแตกต่างของวัฒนธรรมมวลชนกับความวุ่นวายในสังคมและอนาธิปไตย ในแนวนี้วัฒนธรรมจะเชื่อมโยงเป็นอย่างมากกับการงอกงามของวัฒนธรรม นั่นคือ การปรุงแต่งที่ก้าวไปข้างหน้าของพฤติกรรมมนุษย์ อาร์โนลด์เน้นการใช้คำนี้อย่างคงเส้นคงวา ว่า "...วัฒนธรรม คือ การไล่ตามหาความสมบูรณ์สุดยอดด้วยการเรียนรู้ในทุกเรื่องที่เกี่ยวข้องกับเรา นั่นคือสิ่งที่ดีที่สุดที่ได้รับการคิดและพูดขึ้นในโลก"
ในทางปฏิบัติ วัฒนธรรมเกี่ยวข้องกับกิจกรรมชั้นสูง เช่นพิพิธภัณฑ์ประเทืองปัญญา ศิลปะและดนตรีคลาสสิก และยังเป็นคำที่พรรณนาถึงผู้รู้และการเข้าไปมีส่วนร่วมในกิจกรรมเหล่านี้ นี่คือ กิจกรรมที่เรียกว่า "วัฒนธรรมขั้นสูง" เป็นวัฒนธรรมของสังคมกลุ่มชนชั้นกุมอำนาจ ทั้งนี้เพื่อให้เห็นถึงความแตกต่างกับ "วัฒนธรรมมวลชน" หรือ "วัฒนธรรมประชานิยม"
นับจากคริสต์ศตวรรษที่ 19 เป็นต้นมา (พ.ศ. 2344) นักวิจารณ์สังคมเริ่มยอมรับถึงความแตกต่างของ "วัฒนธรรมสูงสุด" และ "วัฒนธรรมต่ำสุด" ดังกล่าวมาแล้ว แต่ก็ได้ย้ำให้เห็นถึงการปรุงแต่งและความละเอียดซับซ้อนว่าเป็นวัฒนธรรมที่มีการพัฒนาที่วิบัติและไม่เป็นธรรมชาติ บดบังและบิดเบือนความเป็นธรรมชาติแท้ของมนุษย์ และในแง่นี้ ดนตรีพื้นบ้าน (ที่แต่งโดยชนชั้นแรงงาน) แสดงออกอย่างเปิดเผยหมดเปลือกถึงวิถีการดำรงชีวิตที่เป็นจริง และว่าดนตรีคลาสสิกดูเป็นเปลือกผิวเผินและกำลังถดถอยลงในแง่การดำรงชีวิตจริง และก็เช่นเดียวกัน มุมมองนี้ได้พรรณาให้เห็นถึงคนพื้นเมืองในฐานะของ "คนเถื่อนใจธรรม" (Noble savage) ที่ดำรงชีวิตอย่างไร้มลทิน ไม่ประณีตซับซ้อนและไม่วิบัติจากระบบชนชั้นนายทุนของโลกตะวันตก
ปัจจุบัน นักวิทยาศาสตร์สังคมได้ปฏิเสธแนวคิดของ "วัฒนธรรมเชิงเอกภาค" (monadic culture) และสังคมที่ตรงข้ามกับธรรมชาติ พวกเขายอมรับวัฒนธรรมที่ไม่ใช่วัฒนธรรมชั้นสูงสุดยอดว่าดีเท่า ๆ กับวัฒนธรรมสุดยอด (รับว่าวัฒนธรรมที่ไม่ใช่ตะวันตกมีอารยธรรมเท่าเทียมกัน และมองว่าเป็นวัฒนธรรมเหมือนกันแต่เป็นคนละแบบ ดังนั้น นักสังเกตการณ์วัฒนธรรมจึงแยกความแตกต่างของวัฒนธรรมขั้นสูงของคนชั้นสูงกับวัฒนธรรมประชานิยมว่าหมายถึง สินค้าและกิจกรรมที่ผลิตเพื่อวัฒนธรรมและบริโภคโดยมวลชน (เป็นที่น่าสังเกตด้วยเช่นว่าบางคนจำแนกวัฒนธรรมทั้งสูงและต่ำว่าเป็นวัฒนธรรมย่อยsubculture) (
วัฒนธรรมในมุมมองของโลก
ในยุคโรแมนติก ผู้รอบรู้ในเยอรมัน โดยเฉพาะผู้ห่วงใยใน "ขบวนการรักชาติ" เช่น ขบวนการรักชาติที่พยายามก่อตั้งประเทศเยอรมันจากรัฐต่าง ๆ ที่ต่างก็มีเจ้าครองนครอยู่แล้ว และกลุ่มผู้รักชาติที่เป็นชนกลุ่มน้อยที่พยายามต่อต้านจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี พวกเหล่านี้มีส่วนช่วยพัฒนาหัวเรื่องวัฒนธรรมมาสู่ "มุมมองของโลก" มากขึ้น ในกรอบแนวคิดลักษณะนี้ มุมมองโลกที่พุ่งไปสู่การจำแนกลักษณะของกลุ่มชาติพันธุ์ มีความชัดเจนขึ้นและไม่ให้ความสำคัญของขนาดกลุ่มชน แม้จะเป็นแนวคิดที่กว้างขึ้นแต่ก็ยังคงเห็นว่ายังการแบ่งความแตกต่างระหว่างวัฒนธรรม "อารยธรรม" และ วัฒนธรรม "ดั้งเดิม" หรือ วัฒนธรรม "ชนเผ่า" อยู่
ในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 (ประมาณ พ.ศ. 2420) นักมานุษยวิทยา ได้ยอมรับและปรับวัฒนธรรม ให้มีนิยามที่กว้างขึ้นให้ประยุกต์ได้กับสังคมต่าง ๆ ที่หลากหลายได้มากขึ้น เอาใจใส่ให้ความสนใจกับทฤษฎีของวิวัฒนาการมากขึ้น มีการอนุมาณว่ามนุษย์ทั้งปวงวิวัฒนาการมาเท่าเทียมกัน และมนุษย์ที่มีวัฒนธรรมจะต้องเป็นผลมาจากวิวัฒนาการอย่างใดอย่างหนึ่ง มีการแสดงถึงความลังเลที่จะใช้วิวัฒนาการทางชีววิทยามาใช้อธิบายความแตกต่างระหว่างวัฒนธรรมที่มีลักษณะเฉพาะที่ต่างกัน ซึ่งเป็นแนวที่เป็นการแสดงรูปแบบหรือส่วนหนึ่งของสังคมเปรียบเทียบกับอีกสังคมโดยรวม และแสดงให้เห็นกระบวนการครอบงำ และกระบวนการต่อต้าน
ในช่วง พ.ศ. 2494 – พ.ศ. 2503 ได้เริ่มมีการยกเอา "กลุ่มวัฒนธรรมย่อย" ที่มีลักษณะเด่นเฉพาะที่อยู่ภายใต้วัฒนธรรมที่ใหญ่กว่ามาเป็นหัวข้อการศึกษาโดยนักสังคมวิทยา ในคริสต์ศตวรรษที่ 20 (พ.ศ. 2444 – พ.ศ. 2543) ได้เกิดแนวคิดที่เรียกว่า "วัฒนธรรมบรรษัท" (corporate culture) ที่เด่นชัดเกี่ยวกับบริบทของการจ้างงานในองค์การหรือในที่ทำงานขึ้น
วัฒนธรรมในเชิงสัญลักษณ์
ในมุมมองเชิงสัญลักษณ์ของวัฒนธรรม ผลงานของคลิฟฟอร์ด เกียรซ์ (พ.ศ. 2516) และวิกเตอร์ เทอร์เนอร์ (พ.ศ. 2510) ได้หยิบยกสัญลักษณ์ว่าเป็นทั้งการกระทำของ "นักแสดง" ในสังคมและบริบทที่ทำให้การแสดงนั้นมีความหมาย แอนโทนี พี โคเฮน (พ.ศ. 2528) เขียนถึง "เคลือบเงาสัญลักษณ์" (Symbolic gloss) ว่าเป็นตัวช่วยให้ผู้แสดงทางสังคมสามารถใช้สัญลักษณ์ทั่ว ๆ ไปสื่อและทำความเข้าใจระหว่างกันในขณะที่ยังคงรักษาสัญลักษณ์เหล่านั้นให้คงอยู่กับความสำคัญและความหมายส่วนบุคคลไว้ได้ สัญลักษณ์ช่วยจำกัดขอบเขตความคิดทางวัฒนธรรม สมาชิกของวัฒนธรรมต้องพึ่งพิงสัญลักษณ์เมื่อจะต้องวางกรอบความคิดและการแสดงออกทางปัญญาของตน
โดยสรุป สัญลักษณ์ทำให้วัฒนธรรมมีความเป็นไปได้ แพร่หลาย และอ่านได้ง่าย สัญลักษณ์เป็น "สายใยแห่งความมีนัย" (webs of significance) " เป็นตัวทำให้ "ความเป็นปกติ ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และความเป็นระบบ" เกิดขึ้นในกลุ่ม ดังตัวอย่างของ วลีที่ใช้มากจนเบื่อหู (Stock phrase หรือ Cliché)[ ข้างล่างนี้
"หยุดเดี๋ยวนี้ ในนามของกฎหมาย!" - คำพูดที่มาจากบทที่นายอำเภอหรือผู้รักษากฎหมายใช้ในภาพยนตร์คาวบอยอเมริกัน
กฎหมายและความเป็นระเบียบเรียบร้อย – อเมริกัน
สันติภาพและความเป็นระเบียบเรียบร้อย – ฟิลิปปินส์
ประชาชนต้องมาก่อน - ไทย
วัฒนธรรมในเชิงของกลไกสร้างเสถียรภาพ
ทฤษฎีวัฒนธรรมใหม่พิจารณาถึงความเป็นไปได้ที่ว่าตัววัฒนธรรมเองเป็นผลิตผลของแนวโน้มของเสถียรภาพที่ตกทอดมาจากแรงกดดันของวิวัฒนาการที่มีผลไปถึงความคล้ายของตนเองและยอมรับตนเองในสังคมโดยรวม ที่เรียกว่า "เผ่าชนนิยม" (Tribalism)
วัฒนธรรมและวิวัฒนาการทางจิตวิทยา
นักวิจัยด้าน "จิตวิทยาเชิงวิวัฒนาการ" โต้เถียงกันว่า จิต คือหน่วยสะสางระบบของการรับรู้ข้อมูลทางประสาทที่เกิดจากการคัดเลือกทางพันธุกรรมเพื่อปรับใช้ในการแก้ปัญหาของบรรพบุรุษนานมาแล้ว นักจิตวิทยาเชิงวิวัฒนาการมีความเห็นว่า ความหลากหลายของรูปแบบที่วัฒนธรรมของมนุษย์รับไว้นั้นถูกกีดขวางไว้ด้วยกลไกของกระบวนการประมวลข้อมูลที่ฝังอยู่ในพฤติกรรมของเราซึ่งรวมถึง
หน่วยมาตรฐานแห่งการรับภาษา
กลไกในการหลีกเลี่ยงการสมสู่กับญาติสนิท
กลไกในการตรวจจับกลโกง
ความพึงใจในการเลือกคู่กับความมีเชาว์ปัญญา
กลไกในการเที่ยวค้นหา
กลไกในการหาพวก
กลไกในการตรวจหาตัวแทน
ความกลัวและกลไกในการปกป้อง (กลไกในการเอาชีวิตรอด)
กลไกเหล่านี้ได้รับการวางให้เป็นทฤษฎีเพือใช้เป็นพื้นฐานทางจิตวิทยาของวัฒนธรรม เพื่อความเข้าใจคำว่าวัฒนธรรมอย่างลึกซึ้ง เราจะต้องมีความเข้าใจในเงื่อนไขทางชีววิทยาของความเป็นไปได้เสียก่อน
วัฒนธรรมภายในสังคม
สังคมขนาดใหญ่มักมี วัฒนธรรมย่อย หรือกลุ่มของคนที่มีพฤติกรรมและความเชื่อที่แปลกไปจากสังคมใหญ่โดยรวมของตน วัฒนธรรมย่อยอาจเด่นจากอายุของสมาชิกกลุ่มหรือโดยเชื้อชาติ ชาติพันธุ์ ชั้นทางสังคมหรือเพศ คุณลักษณะที่เป็นตัวบ่งบอกลักษณะของกลุ่มวัฒนธรรมย่อยอาจเป็น สุนทรียภาพ ศาสนา อาชีพ การเมือง เพศ หรือความสำคัญขององค์ประกอบเหล่านี้
แนวทางที่ใช้ปฏิบัติกับกลุ่มต่างด้าวและวัฒนธรรมของพวกเขามี 4 ทาง ได้แก่

    เอกวัฒนธรรมนิยม (Monoculturalism) : ในประเทศยุโรปบางประเทศ วัฒนธรรมมีความผูกพันอย่างแนบแน่นกับลัทธิชาตินิยม ดังนั้นนโยบายของรัฐบาลจึงใช้วิธีดูดกลืนคนต่างด้าว แต่การเพิ่มขึ้นของการย้ายถิ่นฐานในช่วงไม่นานมานี้ ทำให้หลายประเทศเริ่มหันไปใช้แนวทาง "อเนกวัฒนธรรมนิยม" บ้างแล้ว
    วัฒนธรรมแกนกลาง (Leitkultur หรือ core culture) : เป็นแบบจำลองที่พัฒนาขึ้นในประเทศเยอรมันเมื่อเร็ว ๆ นี้ โดยบาสซาม ไทไบ แนวคิดนี้ก็คือชนกลุ่มน้อยสามารถมีเอกลักษณ์ของตนเองได้ แต่อย่างน้อยต้องสนับสนุนแนวคิดที่เป็นแกนกลางของวัฒนธรรมที่กลุ่มตนร่วมเป็นส่วนอยู่
    หม้อหลอมละลาย (Melting Pot) : ในสหรัฐฯ มุมมองที่ถือปฏิบัติกันได้แก่การเป็นหม้อหลอมละลาย เป็นที่ซึ่งวัฒนธรรมของต่างด้าวที่ย้ายถิ่นเข้ามาอยู่หลอมรวมและผสมผสานกันโดยรัฐไม่ต้องเข้าไปยุ่งเกี่ยวด้วย
    อเนกวัฒนธรรมนิยม (Multiculturalism) : ได้แก่นโยบายที่คนต่างด้าวที่ย้ายถิ่นเข้ามาใหม่ พึงสงวนรักษาวัฒนธรรมดั้งเดิมของตนไว้ร่วมกันวัฒนธรรมอื่นและมีปฏิสัมพันธ์กันอย่างสันติ

วิธีการที่รัฐดำเนินการกับวัฒนธรรมของกลุ่มต่างด้าวผู้ย้ายถิ่นมักไม่ตกอยู่ในแนวทางปฏิบัติอันใดอันหนึ่งดังกล่าวข้างต้น ระดับความแตกต่างของวัฒนธรรมย่อยกับวัฒนธรรมเจ้าถิ่น จำนวนผู้ย้ายถิ่นเข้า ทัศนคติของประชากรที่มีอยู่เดิม ประเภทของนโยบายของรัฐที่ใช้และผลสัมฤทธิ์ของนโยบายเหล่านี้ ประกอบกันทำให้ยากที่จะได้ผลลัพธ์ที่เป็นแบบทั่วไปได้ เช่นเดียวกันกับวัฒนธรรมย่อยอื่น ๆ ภายในสังคม ทัศนคติที่เป็นกระแสรวมของประชากรและการสื่อความระหว่างกลุ่มวัฒนธรรมต่าง ๆ ด้วยกันล้วนมีอิทธิพลมากในผลลัพธ์ที่ได้ออกมา การศึกษาวัฒนธรรมต่าง ๆ ในสังคมหนึ่งเป็นเรื่องซับซ้อนซึ่งการการวิจัยที่ขึ้นอยู่กับตัวแปรที่มากมายหลายหลาก
วัฒนธรรมโดยภูมิภาค
วัฒนธรรมภูมิภาคจำนวนมากได้รับอิทธิพลจากการติดต่อกับภูมิภาคอื่น เช่น การเป็นอาณานิคม การค้าขาย การย้ายถิ่นฐาน การสื่อสารมวลชนและศาสนา
แอฟริกา
แม้จะมีต้นตอที่แตกต่างกัน วัฒนธรรมแอฟริกา โดยเฉพาะวัฒนธรรมแถบใต้สะฮาราซึ่งได้รับการก่อรูปโดยการตกเป็นอาณานิคมของยุโรป และโดยเฉพาะแอฟริกาเหนือที่ถูกก่อรูปโดยวัฒนธรรมอาหรับและอิสลาม
อเมริกา
วัฒนธรรมของอเมริกาได้รับอิทธิพลอย่างสูงจากชนพื้นเมืองที่อาศัยในผืนทวีปนั้นมานานก่อนที่ชาวยุโรปย้ายถิ่นเข้ามาอยู่ ผู้มาจากแอฟริกา (โดยเฉพาะสหรัฐฯ ที่ประชากรชาวแอฟริกัน-อเมริกัน) และจากผู้อพยพชาวยุโรปต่าง ๆ โดยเฉพาะชาวสเปน ชาวอังกฤษ ชาวฝรั่งเศส ชาวโปรตุเกส ชาวเยอรมัน ชาวไอร์แลนด์ ชาวอิตาลีและชาวฮอลแลนด์
เอเชีย
แม้ว่าความหลากหลายทางวัฒนธรรมของกลุ่มประเทศเอเซียจะสูงมากก็ตาม แต่ก็ยังมีอิทธิพลของการเปลี่ยนถ่ายวัฒนธรรมให้เห็นไม่น้อย แม้เกาหลี ญี่ปุ่นและเวียดนามไม่ใช้ภาษาจีนในการพูด แต่ภาษาของประเทศเหล่านี้ก็มีอิทธิพลของจีนทั้งการพูดและการเขียน ดังนั้น ในเอเซียตะวันออก อักษรจีนจึงได้รับการยอมรับว่าเป็นตัวกลางของอิทธิพล ด้านศาสนา โดยเฉพาะศาสนาพุทธและลัทธิเต๋า มีผลกระทบสูงต่อวัฒนธรรมประเพณีของประเทศกลุ่มเอเซียตะวันออก รวมทั้งการมีลัทธิขงจื๊อผสมปนอยู่ในปรัชญาทางสังคมและศีลธรรมของประเทศเหล่านี้
ศาสนาฮินดู และ อิสลาม ส่งอิทธิพลทางวัฒนธรรมต่อประชากรในเอเซียใต้มานานนับหลายร้อยปี เช่นเดียวกันที่ศาสนาพุทธแพร่กระจายเป็นอย่างมากในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้
แปซิฟิก
เกือบทุกประเทศในมหาสมุทรแปซิฟิกได้รับอิทธิพลอย่างต่อเนื่องจากวัฒนธรรมของชนพื้นถิ่นเดิม แม้จะได้รับผลกระทบจากอิทธิพลของวัฒนธรรมยุโรปบ้าง โดยเฉพาะฟิลิปปินส์ และเกือบทุกประเทศในหมู่เกาะโปลินีเซียนับถือศาสนาคริสต์ ประเทศอื่น ๆ เช่นออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ถูกครอบงำโดยผู้อพยพที่เป็นชนผิวขาวและลูกหลานของพวกชนเหล่านี้ แต่ถึงกระนั้นวัฒนธรรมพื้นถิ่นออสเตรเลียและวัฒนธรรมเมารีในนิวซีแลนด์ก็ยังปรากฏให้เห็นชัดเจน
ยุโรป
วัฒนธรรมยุโรปก็เช่นกันที่ได้ส่งอิทธิพลอย่างกว้างขวางออกไปใกลจากผืนทวีปจากการล่าอาณานิคม ในความหมายอย่างกว้างมักเรียกว่าเป็น "วัฒนธรรมตะวันตก" อิทธิพลดังกล่าวนี้เห็นได้ชัดจากการแพร่หลายของภาษาอังกฤษ และภาษายุโรปบางภาษาแม้ไม่มากเท่า อิทธิพลทางวัฒนธรรมสำคัญที่มีต่อยุโรปได้แก่วัฒนธรรมกรีกโบราณ โรมันโบราณและศาสนาคริสต์ แม้อิทิพลทางศาสนาจะจางลงในยุโรปบ้างแล้วก็ตามแต่
ตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือ
โดยทั่วไป ประเทศกลุ่มตะวันออกกลางมีวัฒนธรรมสำคัญที่เด่นชัดอยู่ 3 ได้แก่วัฒนธรรมอารบิก วัฒนธรรมเปอร์เซียและวัฒนธรรมตุรกีซึ่งต่างก็มีอิทธิพลต่อกันและกันในระดับต่างมาตลอดช่วงเวลาต่าง ๆ ที่ผ่านมา ภูมิภาคทั้งหมดเป็นมุสลิมแต่ก็มีคริสเตียนและศาสนาของชนกลุ่มน้อยบางศาสนาแทรกอยู่บ้าง
วัฒนธรรมอารบิกได้รับอิทธิพลที่ลึกมากจากวัฒนธรรมเปอร์เซียและตุรกีผ่านทางศาสนาอิสลาม ระบบการเขียน ศิลปะ สถาปัตยกรรม วรรณคดีและอื่น ๆ ระยะทางที่ใกล้ของอิหร่านส่งอิทธิพลต่อภูมิภาคที่อยู่ใกล้ เช่นอิรักและตุรกี การสืบย้อนทางภาษาพบได้ในสำเนียงอาหรับในภาษาอิรักและภาษาคูเวตรวมทั้งในภาษาตุรกี การครอบครองตะวันออกกลางที่นานถึง 500 ปีของพวกอ๊อตโตมานมีอิทธิพลที่รุนแรงมากต่อวัฒนธรรมอาหรับ ซึ่งอาจแผ่ไปไกลถึงอัลจีเรียและจะพบอิทธิพลระดับสูงที่อียิปต์ อิรักและลิแวนต์ (Levant) ในแถบตะวันตกของทะเลเมดิเตอร์เรเนียน
ระบบความเชื่อ
ศาสนาและระบบความเชื่ออื่น ๆ มักรวมเป็นส่วนที่แยกไม่ได้กับวัฒนธรรม Religion ในภาษาอังกฤษนั้นมาจากภาษาละตินreligare มีความหมายว่า "to bind fast" หรือ "การผูกมัดที่แน่นหนา" ศาสนามีบทบาทในวัฒนธรรมในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติมาโดยตลอด[18]
ศาสนามักกำหนดกฎระเบียบปฏิบัติ เช่น "บัญญัติ 10 ประการ" ในศาสนาคริสต์ หรือ "ศีลห้า" ในพระพุทธศาสนา ในบางครั้งก็เกี่ยวพันกับรัฐบาล เช่นในระบอบ "เทวาธิปไตย" (theocracy) รัฐที่ปกครองโดยใช้หลักศาสนา นอกจากนี้ศาสนายังมีอิทธิพลอย่างมากต่อศิลปะ
ประเพณีศูนย์ยุโรป ในบางกรณี ประเพณีศูนย์ยุโรป (Eurocentric) มีผลต่อการแบ่งภูมิภาคเป็นตะวันตกและไม่ใช่ตะวันตก ซึ่งมีข้อเสียอยู่เช่นกัน วัฒนธรรมตะวันตก แผ่กระจายจากยุโรปไปถึงออสเตรเลีย แคนาดาและสหรัฐฯ ค่อนข้างเข้มข้น วัฒนธรรมตะวันตกได้รับอิทธิพลอย่างสูงจากกรีกโบราณ โรมโบราณและศาสนาคริสเตียน
วัฒนธรรมตะวันตกมีแนวโน้มที่จะเป็นปัจเจกมากกว่าวัฒนธรรมที่ไม่ใช่ตะวันตก วัฒนธรรมมองมนุษย์ พระเจ้าและธรรมชาติหรือจักรวาลแยกส่วนมากกว่าวัฒนธรรมที่ไม่ใช่ตะวันตก วัฒนธรรมตะวันตกบ่งชี้ด้วยความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ การรู้หนังสือและความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี
กลุ่มศาสนาแอบราฮัม (Abrahamic religions)
ลัทธิยูดา นับได้ว่าเป็นศาสนาแรกในกลุ่ม เป็นลัทธิเทวนิยมที่เชื่อในพระเจ้าองค์เดียว เป็นศาสนาที่เก่าแก่ที่สุดและยังอยู่ยั่งยืนถึงปัจจุบัน คุณค่าและประวัติศาสตร์ของชาวยิวนับเป็นส่วนหลักสำคัญที่ เป็นรากฐานของกลุ่มศาสนาแอบราฮัมอื่น เช่นคริสต์ศาสนา ศาสนาอิสลาม รวมทั้งศาสนาบาไฮ อย่างไรก็ดี แม้จะมีรากฐานร่วมจากแอบราฮัมด้วยกันมาแต่โบราณ แต่แต่ละศาสนาก็มีความแตกต่างกันทางศิลปะที่ชัดเจน (ทั้งทัศนศิลป์และนาฏศิลป์) ซึ่งความแตกต่างนี้เนื่องมากจากอิทธิพลภูมิภาคที่มีอยู่ก่อนโดยมีศาสนาเข้ามาในภายหลังและกลายเป็นศาสนาที่เป็นตัวแสดงลักษณะเด่นทางวัฒนธรรมในเวลาต่อมา
ศาสนาคริสต์กลายเป็นอิทธิพลแปลงโฉมที่สำคัญของยุโรปและโลกใหม่ อย่างน้อยก็เป็นเวลานับได้ในช่วง 500 ถึง 1700 ปี มาแล้ว แนวคิดทางปรัชญาสมัยใหม่ส่วนใหญ่ได้อิทธิพลจากนักปรัชญาคริสเตียน เช่น เซนต์โทมัส อาควีนัส และ อีราสมุส มหาวิหารคริสเตียนได้รับการยกย่องว่าเป็นสถาปัตยกรรมที่สำคัญเช่นเดียวกับโบสถ์โนเตรอะดามในปารีส เวลส์แคทรีดรัล และโบสถ์มหานครในเมกซิโกซิตี
อิทธิพลอิสลามเป็นอิทธิพลที่ครอบงำภาคเหนือของแอฟริกา ภูมิภาคตะวันออกกลางและตะวันออกกลางเป็นเวลานานเกือบ 1,500 ปี บางครั้งมีการผสมผสานกับศาสนาอื่นบ้าง อิทธิพลอิสลามIbn Bajjah) อิบันตูเฟล (Ibn Tufail) อิบันคาห์ดุน (Ibn Khaldun) และ อะเวอร์โรส (Averroes) นอกจากนี้ยังมี เรื่องร้อยกรองHayy ibn Yaqdhan) เดอะแมดแมนออฟเลย์ลา (The Madman of Layla) เดอะคอนเฟอเรนซ์ออฟเดอะเบิร์ด (The Conference of the Birds) และเดอะมาสวานิ (Masnavi) ในศิลปะและสถาปัตยกรรมก็มีอิทธิพลอิสลามที่สำคัญเช่น สุเหร่าUmayyad Mosque) โดมทองแห่งเยรุซาเล็มDome of the Rock) สุเหร่าArabesque) อื่นๆไฟซาล ฮาไกโซเฟีย (ซึ่งเคยเป็นทั้งโบสถ์และสุเหร่า) พร้อมทั้งสิ่งก่อสร้างแบบสถาปัตยกรรมสไตล์อาหรับ ( (อูเมย์ยาด (และวรรณคดี เช่น เฮวี อิบันยักดานห์ (อาจเห็นได้จากปรัชญาต่าง ๆ ที่หลากหลาย เช่น อิบันบาจจาห์ (
ศาสนายูดาและศาสนาบาไฮ ปกติเป็นศาสนากลุ่มน้อยอยู่ในชาติต่าง ๆ แต่ก็ยังมีส่วนที่เด่นชัดในวัฒนธรรมรวมและศาสนารวมของชาตินั้น ๆ บุคคลสำคัญที่นับถือศาสนายูดาซึ่งเป็นที่รู้จักได้แก่ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ และเฮนรี คิสซิงเจอร์ นักดนตรี นักแสดง เช่น พอลลา อับดุล แซมมี เดวิส จูเนียร์และบ็อบ ดีแลน สำหรับศาสนาบาไฮที่เด่นคือโบสถ์บาไฮที่สวยงาม นักดนตรีเช่น ดิสซีกิลลิสปี และนักคิดเช่น อาเลน ลีรอย ล็อก เฟรเดริก เมเยอร์และริชาร์ด เซนต์บาร์บ เบเกอร์ เป็นต้น
มานุษยวิทยาสายหลักมีมุมมองทางวัฒนธรรมว่าประชาชนจะมีความรู้สึกต่อต้านเมื่อถูกบอกว่ามีสัตว์และวิญญาณฝังอยู่ในธรรมชาติของมนุษย์
ศาสนาตะวันออกและปรัชญา
ปรัชญาและศาสนามักจะกลมกลืนผูกพันเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในแนวคิดตะวันออก ประเพณีศาสนาและปรัชญาตะวันออกหลายกลุ่มมีต้นตอมาจากอินเดียและจีนและแผ่ขยายไปทั่วเอเซียจาก การแพร่กระจายทางวัฒนธรรม (cultural diffusion) และการย้ายถิ่นของประชากร ศาสนาฮินดูเป็นบ่อเกิดของพระพุทธศาสนา นิกายมหายานซึ่งแพร่กระจายขึ้นเหนือและตะวันออกจากอินเดียสู่ธิเบต จีน มองโกเลีย ญี่ปุ่นและเกาหลี อ้อมลงใต้จากจีนสู่เวียดนาม พุทธศาสนานิกายเถรวาทแพร่กระจายจากอินเดียสู่เอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งแต่ศรีลังกา บางส่วนทางภาคใต้ของจีน กัมพูชา ลาว พม่าและไทย
ปรัชญาอินเดียรวมถึงปรัชญาฮินดู มีองค์ประกอบที่ไม่แสวงหาวัตถุ ในขณะที่อีกแนวคิดหนึ่งจากอินเดีย คือ (Carvaka?) สอนให้แสวงหาความสุขจากโลกวัตถุ ทั้งลัทธิขงจื๊อและลัทธิเต๋าซึ่งมีบ่อเกิดในจีนได้มีอิทธิพลฝังลึกทั้งในศาสนาและแนวคิดทางปรัชญารวมทั้งในหลักการปกครองบ้านเมืองและศิลปะไปทั่วเอเซีย
ในช่วงระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 20 (พ.ศ. 2444 – พ.ศ. 2543) สองประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในเอเซียที่มีความแตกต่างในแนวคิดทางปรัชญาการเมืองได้เกิดเป็นรูปเป็นร่างขึ้น คานธีให้ความหมายใหม่กับคำว่า "อหิงสา" ซึ่งเป็นความเชื่อหลักของทั้งศาสนาฮินดู และศาสนาเชน และได้ปรับความหมายใหม่มาเป็นแนวคิด "ความไม่รุนแรง" (nonviolence) และการไม่ต่อต้าน (nonresistance) ซึ่งกว้างไกลออกไปจากวงกรอบล้อมของอินเดีย ในระยะเดียวกัน ปรัชญาคอมมิวนิสต์ของเมาเซตุงได้กลายเป็นระบบความเชื่อนอกศาสนาที่มีอำนาจมาก
ศาสนาพื้นบ้าน
ศาสนาพื้นบ้านที่นับถือโดยชนเผ่าต่าง ๆ มีอยู่ทั่วไปในเอเซีย แอฟริกาและอเมริกา อิทธิพลของศาสนาเหล่านี้มีมากพอควร ซึ่งมีทั้งเผยแพร่ฝังอยู่ในวัฒนธรรมและในบางกรณีกลายเป็นศาสนาประจำชาติ เช่นศาสนาชินโต เช่นเดียวกับศาสนาหลักต่าง ๆ ศาสนาพื้นบ้านสามารถตอบสนองความต้องการการปกป้องคุ้มครองยามมีภัย ช่วยรักษาความเจ็บป่วย ล้างความอับโชคและช่วยทำพิธีต่าง ๆ รวมทั้งการเป็นช่องการเกิดและตายของมนุษย์
ความฝันอเมริกัน
"ความฝันอเมริกัน" (The "American Dream") เป็นความเชื่อของชาวอเมริกันจำนวนมาก ว่าด้วยการทำงานหนัก กล้าหาญและมีความมุ่งมั่น โดยไม่คำนึงถึงชั้นสังคม บุคคลสามารถบรรลุสู่ชีวิตที่ดีกว่าได้เสมอ ความคิดนี้มีรากมาจากความเชื่อที่ว่าสหรัฐอเมริกาคือ "เมืองบนเนินเขา เป็นแสงที่ก่อให้เกิดประเทศ" ซึ่งเป็นคุณค่าที่ยึดถือโดยชาวยุโรปผู้อพยพมาตั้งถิ่นฐานในยุคแรก ๆ และได้ยึดถือคุณค่านี้สืบมาหลายชั่วคน
แนวคิดนี้สะท้อนให้เห็นวัฒนธรรมอื่นด้วย เช่นกรณีของ "ความฝันออสเตรเลียอันยิ่งใหญ่" แม้จะสะท้อนไปทาง "การเป็นเจ้าของบ้าน" มากกว่า
การแต่งงาน
โบสถ์คริสเตียนเกือบทั้งหมดมักใช้เป็นที่ประกอบพิธีแต่งงาน ซึ่งปกติส่วนหนึ่งของพิธีมักรวมถึงการปวารณาที่จะสนับสนุนโบสถ์ ในการแต่งงาน ชาวคริสเตียนจะมีความสัมพันธ์คู่ขนานไปกับพระเยซูและโบสถ์ของตน ศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกมีความเชื่อว่าการหย่าร้างผิดศีลธรรม และคู่หย่าร้างไม่อาจแต่งงานใหม่ในโบสถ์ได้ หากไม่ทำพิธีล้างบาปอย่างเป็นทางการก่อน
วัฒนธรรมศึกษา เกิดขึ้นในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 20 (ประมาณ พ.ศ. 2510 เป็นต้นมา) เป็นส่วนหนึ่งของการนำแนวคิดลัทธิมากซ์มาบรรจุในวิชาสังคมวิทยาอีกครั้งหนึ่ง และส่วนหนึ่งก็เป็นเสียงให้กับสังคมวิทยาและสาขาวิชาอื่น เช่นวรรณคดีวิจารณ์ ขบวนการนี้มุ่งประเด็นไปเน้นที่การวิเคราะห์กลุ่มวัฒนธรรมย่อยในสังคมทุนนิยม ตามประเพณีที่ไม่นับเป็นมานุษยวิทยา วัฒนธรรมศึกษาโดยทั่วไปจะเน้นการศึกษาสินค้าเพื่อการบริโภค (เช่นแฟชัน ศิลปะและวรรณคดี) เนื่องจากความเด่นชัดระหว่าง "วัฒนธรรมสูง" และ "วัฒนธรรมต่ำ" ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 18 และ 19 (พ.ศ. 2343-พ.ศ. 2443) ดูเหมือนจะเหมาะเพียงสำหรับการประยุกต์กับสินค้าที่ใช้วิธีการผลิตเป็นจำนวนมากและจำหน่ายในตลาดเป็นจำนวนมากที่วัฒนธรรมศึกษาได้วิเคราะห์ไว้ ซึ่งนักวิชาการเอ่ยถึงในชื่อว่า "วัฒนธรรมนิยม"
ปัจจุบัน นักมานุษยวิทยาบางคนได้เข้ามาร่วมงานด้านวัฒนธรรมศึกษามากขึ้น เกือบทั้งหมดไม่ยอมรับการบ่งชี้ถึงวัฒนธรรมคู่กับสินค้าบริโภค ยิ่งไปกว่านั้น หลายคนยังต่อต้านความคิดของวัฒนธรรมว่าเป็นการผูกมัด มีผลให้ไม่ยอมรับแนวคิดของกลุ่มวัฒนธรรมไปด้วย พวกเขามองวัฒนธรรมเป็นสายใยที่ซับซ้อนของรูปแบบที่กำลังเชื่อมโยงกับประชาชนในท้องถิ่นต่าง ๆ และเชื่อมกับการก่อรูปของสังคมในขนาดที่ต่างกันด้วย ตามมุมมองดังกล่าวกลุ่มใด ๆ ก็สามารถสร้างเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของตนได้เอง
เมื่อเร็ว ๆ นี้มีการโต้เถียงเกี่ยวกับวัฒนธรรมว่าจะสามารถเปลี่ยนพื้นฐาน "การเรียนรู้ของมนุษย์" ได้หรือไม่ ซึ่งนักวิจัยทั้งหลายก็ยังมีความเห็นแตกต่างกันอยู่
การเปลี่ยนแปลงของวัฒนธรรม
แนวโน้มในการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรม ไม่ว่าในทางยอมรับหรือต่อต้าน ย่อมขึ้นอยู่กับรากฐานของวัฒนธรรมในสังคมนั้น ตัวอย่างเช่น ความเป็นชายและหญิงที่ต่างมีบทบาทอยู่ในหลายวัฒนธรรม เพศใดเพศหนึ่งอาจต้องการให้มีการเปลี่ยนแปลงซึ่งกระทบต่ออีกเพศหนึ่ง ดังเช่นที่เกิดขึ้นในวัฒนธรรมตะวันตกในช่วงครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 20 (พ.ศ. 2493 -2443) ซึ่งทำให้เกิดแรงผลักดันชักจูงทั้งสองทาง คือการกระตุ้นให้ยอมรับสิ่งใหม่ และการอนุรักษ์ที่ต่อต้านการเปลี่ยนแปลงนั้น
อิทธิพลทั้ง 3 ประการต่อไปนี้สามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและการต่อต้าน
1.            แรงผลักดันในที่ทำงาน
2.            การติดต่อกันระหว่างกลุ่มสังคม
3.            การเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ
การเปลี่ยนแปลงของวัฒนธรรมอาจเกิดมาจากสิ่งแวดล้อม การค้นพบ (และอิทธิพลภายในอื่น ๆ) และการติดต่อสัมพันธ์กับวัฒนธรรมอื่น ตัวอย่างเช่น ยุคน้ำแข็งครั้งหลังสุดช่วยนำไปสู่การค้นพบการทำเกษตรกรรม และตัวเกษตรกรรมเองก็เป็นตัวก่อให้เกิดนวัตกรรมมากมายทางเกษตรกรรม ซึ่งนวัตกรรมนี้ก็ได้นำไปสู่นวัตกรรมอื่น ๆ ทางวัฒนธรรม
การแพร่กระจายนี้ ทำให้เกิดรูปแบบบางอย่างที่เคลื่อนตัวจากวัฒนธรรมหนึ่งไปสู่อีกวัฒนธรรมหนึ่ง ตัวอย่างแฮมเบอร์เกอร์ ที่มีอยู่ทั่วไปในอเมริกาแต่อาจเป็นสิ่งแปลกใหม่เมื่อเริ่มกิจการในประเทศจีน "การแพร่กระจายแบบกระตุ้น" (Stimulus diffusion) หมายถึงองค์ประกอบของวัฒนธรรมหนึ่งที่นำไปสู่การค้นพบในอีกวัฒนธรรมหนึ่ง ทฤษฎีการแพร่นวัตกรรมนี้แสดงให้เห็นถึงแบบจำลองที่ใช้พื้นฐานการวิจัยเมื่อบุคคลหรือวัฒนธรรมยอมรับความคิดใหม่ ๆ วิธีปฏิบัติใหม่ ๆ และผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ
การรับวัฒนธรรมอื่น (Acculturation) มีความหมายต่างกันหลายประการ แต่ในบริบทนี้หมายถึงการเปลี่ยนแทนลักษณะรากฐานจากวัฒนธรรมหนึ่งไปสู่อีกวัฒนธรรมหนึ่ง เช่นที่เกิดกับชนเผ่าพื้นเมืองอเมริกาบางเผ่า รวมทั้งกลุ่มชนพื้นเมืองจำนวนมากทั่วโลกในระหว่างกระบวนการการครอบครองอาณานิคม กระบวนการอื่นที่สัมพันธ์ในระดับปัจเจกบุคคลรวมถึงการผสมกลมกลืน (การยอมรับเอาวัฒนธรรมอื่นมาเป็นของตนในระดับบุคคล) และการผ่านข้ามทางวัฒนธรรมtransculturation) (
การประดิษฐ์ทางวัฒนธรรม ได้กลายเป็นนวัตกรรมใหม่ที่มีประโยชน์แก่กลุ่มชนและแสดงถึงพฤติกรรมของพวกเขา โดยมิได้เป็นสิ่งซึ่งจับต้องได้ มนุษยชาติกำลังอยู่ในระยะการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมในอัตราเร่งทั่วทั้งโลก ซึ่งขับเคลื่อนโดยการขยายตัวของการค้าของโลก การสื่อสารมวลชน และเหนือกว่าสิ่งอื่นใดก็คือการ "ระเบิด" ของประชากร ซึ่งเป็นปัจจัยร่วมที่สำคัญ ปัจจุบันประชากรโลกมีอัตราเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าภายใน 40 ปี
การเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมมีความซับซ้อนและมีผลกระทบระยะยาวมาก นักสังคมวิทยาและนักมานุษยวิทยาเชื่อว่าสิ่งแวดล้อมเป็นปัจจัยสำคัญมากในการสร้างความเข้าใจการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว การคงอยู่ของมนุษย์อาจมองได้ว่าเป็น "แง่มุมรวมที่เป็นอเนก" (multifaceted whole) และเพียงด้วยจุดมองนี้เองที่จะช่วยให้เราสามารถรู้ได้ถึงการเปลี่ยนแปลงของวัฒนธรรมที่เป็นจริง

ที่มา วิกิพีเดีย

20120927

ประเพณีและวัฒนธรรมไทย ประเพณีไทย อารยธรรมไทย











ประเพณีและวัฒนธรรมไทย
ประเพณีไทย อารยธรรมไทย ประเพณีไทยอันดีงามที่สืบทอดต่อกันมานั้น ล้วนแตกต่างกันไปตามความเชื่อ ความผูกพันของผู้คนต่อพุทธศาสนาและการดำรงชีวิตที่สอดประสานกับฤดูกาลและ ธรรมชาติอย่างชาญฉลาดของชาวบ้านในแต่ละท้องถิ่นทั่วแผ่นดินไทย เช่น ภาคเหนือ ประเพณีบวชลูกแก้วของคนไตหรือชาวไทยใหญ่ที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน ภาคอีสาน ประเพณีบุญบั้งไฟของชาวจังหวัดยโสธร ภาคกลาง ประเพณีทำขวัญข้าวจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ภาคใต้ ประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุของชาวจังหวัดนครศรีธรรมราช เป็น ต้น นอกจากนี้ ประเพณีแอารธรรมไทยยังนำมาซึ่งการท่องเทียว เป็นที่รู้จักและประทับใจแก่ชาติอื่นนับเป็นมรดกอันลำค่าที่เราคนไทยควร อนุรักษ์และสืบสานให้ยิ่งใหญ่ตลอดไป

» ประเพณีลอยกระทง. ประเพณีลอยกระทง ซึ่งตรงกับวันเพ็ญ เดือน 12 เริ่มขึ้นครั้งแรก ในสมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี โดยมีนางนพมาศ หรือท้าวศรีจุฬารัตน์ พระสนมเอกแห่งพระร่วงเจ้า เป็นผู้ให้กำเนิด

» พิธีแห่เทียนพรรษา. ส่วนความเป็นมาของเทศกาลแห่เทียนของชาวเมืองอุบลนั้น แต่ก่อนไม่ได้แห่เทียนเหมือนในปัจจุบัน แต่จะทำการฟั่นเทียน ยาวรอบศีรษะไปถวายพระเพื่อจุดบูชาในช่วงจำพรรษา นอกจากเทียนแล้วยังมีน้ำมัน เครื่องไทยทาน และผ้าอาบน้ำฝนพอมาถึงสมัยกรมหลวงสรรพสิทธิ์ประสงค์ เป็นผู้สำเร็จราชการเมืองอุบล ครั้งหนึ่งได้มีการแห่บั้งไฟและได้เกิดเรื่องมีการตีกันทำให้มีคนเสียชีวิต จึงทำให้ถูกเลิกการแห่บั้งไฟ และได้เปลี่ยนมาเป็นการแห่เทียนแทน

» พฤศจิกายน ประเพณีลอยโคม จ.เชียงใหม่. งานประเพณีพื้นบ้านในวันเพ็ญเดือน ๑๒ ของชาวล้านนาจังหวัดเชียงใหม่ ที่มีความเชื่อในการปล่อยโคมลอยซึ่งทำด้วยกระดาษสาติดบนโครงไม้ไผ่แล้วจุด ตะเกียงไฟตรงกลางเพื่อให้ไอความร้อนพาโคมลอยขึ้นไปในอากาศเป็นการปล่อย เคราะห์ปล่อยโศกและเรื่องร้ายๆต่างๆ ให้ไปพ้นจากตัว

» กรกฎาคม ประเพณีแห่เทียนพรรษา จ.อุบลราชธานี. ประเพณีที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของจังหวัดอุบลราชธานี มีขึ้นในช่วงวันอาสาฬหบูชาและวันเข้าพรรษาของทุกปี โดยคุ้มวัดต่างๆ จะจักทำต้นเทียนแกะสลักอันงดงามแห่แหนไปรอบเมืองก่อนที่จะนำไปถวายตามอุโบสถ ของวัดต่างๆ ต่อไป

» ประเพณีบุญบั้งไฟ จ.ยโสธร. ประเพณีพื้นบ้านของชาวอีสานที่ผูกพันกับความเชื่อในเรื่องการขอฝนด้วยการทำ บั้งไฟจุดขึ้นไปบนฟ้าเพื่อขอฝนจากพญาแถน ซึ่งเป็นงานประเพณีที่จัดขึ้นในวันเสาร์และอาทิตย์ที่ ๒ เดือนพฤษภาคมของทุกปี

» กุมภาพันธ์ ประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุ จ.นครศรีธรรมราช. งานประเพณีสำคัญที่จัดขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี เพื่อนมัสการองค์พระบรมธาตุเมืองนครศรีธรรมราชในงานมีการกวนข้าวมธุปายาส ประกวดผ้าพระบฏและโคมประดับ และมีการแห่ผ้าขึ้นธาตุไปตามถนนแล้วนำไปห่มองค์พระธาตุเป็นการสักการบูชา

» ประเพณีวิ่งควายของจังหวัดชลบุรี. นอกจากจะจัดให้มีการแข่งขันวิ่งควาย ประกวดความงามของควาย และประกวดสุขภาพของควายแล้วยังมีการ "สู่ขวัญควาย" หรือทำขวัญควายไปในตัวอีกด้วยแม้ปัจจุบันเกษตรกรส่วนใหญ่ในประเทศจะหันมาใช้ เครื่องจักรกลหรือที่เรียกว่าควายเหล็กช่วยผ่อนแรงในการทำนาแล้วก็ตาม แต่ชาวชลบุรีก็ยังคงอนุรักษ์ประเพณีท้องถิ่นอันแปลกนี้อยู่ เพราะนอกจากจะเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดแล้ว ยังเป็นเครื่องแสดงถึงความสามัคคีของชาวชลบุรีอีกด้วย

» ประเพณีทำขวัญข้าวของชาวนา. ประเพณีทำขวัญข้าวเป็นพิธีสำคัญของชาวนา เมื่อต้นข้าวแตกกอเขียวงอกงามแล้วจึงทำพิธี " ขวัญข้าว "

» การตักบาตรเทโว. ประวัติความเป็นมา ในสมัยพุทธกาล เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสรู้และเสด็จขึ้นไปโปรดพระพุทธมารดา โดยจำพรรษาอยู่ ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เป็นเวลา 1 พรรษา และเมื่อออกพรรษาแล้วพระองค์ได้เสด็จกลับโลกมนุษย์ ณ เมืองสังกัสสนครการ

» ประเพณีแข่งเรือ จ.บุรีรัมย์. ประเพณีพื้นบ้านที่แสดงให้เห็นถึงวิธีชีวิตของคนไทยอันผูกพันกับสายน้ำมา เนิ่นนานโดยในฤดูฝนเมื่อเสร็จสิ้นการดำนา นับจากเดือนสิงหาคมเป็นต้นไป จนถึงราวเดือนพฤศจิกายนที่น้ำหลากเต็มตลิ่ง ชาวบ้านก็จะจัดงานแข่งเรือกันขึ้นเพื่อความสนุกสนาน และการสมัครสมานสามัคคีกัน

» ประเพณีรำบวงสรวงพระธาตุพนม จ.นครพนม. งานบุญยิ่งใหญ่ของชาวจังหวัดนครพนม ที่จัดขึ้นเพื่อนมัสการองค์พระธาตุพนมในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ ของทุกๆ ปี

» เด็กไทยเล่นหมากเก็บ. วิธีเล่น ใช้ก้อนกรวดที่มีลักษณะกลมๆ 5 ก้อน เสี่ยงทายว่าใครจะเล่นก่อน โดยวิธีขึ้นร้าน คือ ถือหมากทั้งห้าเม็ดไว้แล้วโยนพลิกหงายหลังมือรับ แล้วพลิกมือกลับรับอีกที ใครเหลือหินอยู่ในหินอยู่ในมือมากที่สุดคนนั้นเล่นก่อน มีทั้งหมด 5 หมาก หมากที่ 1 ทอดหมากให้ห่างๆ กัน เลือกลูกนำไว้ 1 เม็ด ควรใช้เม็ดกรวดที่ห่างที่สุด โยนเม็ดนำขึ้นแล้วเก็บทีละเม็ดพร้อมกับรับลูกนำที่หล่นลงมาให้ได้ ถ้ารับไม่ได้ถือว่า "ตาย" ขณะที่หยิบเม็ดที่ทอดนั้น ถ้ามือไปถูกเม็ดอื่นถือว่า ตาย

» การของเด็กไทย เล่นโพงพาง. เลือกคนที่เป็นปลา โดยการจับไม้สั้นไม้ยาว เอาผ้าผูกตาคนที่เป็นปลา แล้วหมุน 3 รอบ ผู้เล่นคนอื่นๆ ล้อมวงจับมือกันเดินเป็นวงกลม พร้อมร้องเพลงประกอบ เมื่อจบเพลงนั่งลง ถามว่า "ปลาเป็นหรือปลาตาย" ถ้าตอบว่า "ปลาเป็น" คนที่อยู่รอบวงจะขยับเขยื้อนหนีได้ ถ้าบอก "ปลาตาย" จะต้องนั่งอยู่เฉยๆ คนที่ถูกปิดตาทายถูกก็ต้องมาเป็นแทน ถ้าทายผิดต้องเป็นต่อไป ผู้ที่เป็นปลา ซึ่งถูกปิดตาจะต้องทายว่า ผู้ที่ถูกจับได้เป็นใคร และชื่อว่าอะไร

» การของเด็กไทย เล่นซ่อนหาหรือโป้งแปะ. วิธีเล่น จับไม้สั้นไม้ยาว เพื่อหาว่าใครจะเป็นคนหาก่อน เมื่อได้แล้วก็ปิดตา คนอื่นๆ ไปซ่อน คนปิดตาถาม "เอาหรือยัง" ถ้าผู้ซ่อนคนใด หรือหลายคนร้องว่า "ยัง" ก็ยังเปิดตาไม่ได้ รอจนกว่าผู้ซ่อนจะร้องว่า "เอาละ" จึงเปิดตาได้และค้นหาผู้ซ่อน เมื่อหาพบต้องส่งเสียงดังๆ เพื่อให้รู้ว่าพบใครคนหนึแล้วผู้ซ่อนทั้งหลายก็ออกมาจากที่ซ่อน ถ้าเล่นโป้งแปะ จะต้องร้องว่า "โป้ง….(ชื่อผู้ที่พบ)" ถ้าผู้ซ่อนถึงตัวผู้หา และร้องว่า "แปะ" ก่อน ผู้นั้นต้องเป็นต่อไป ผู้เล่นจะต้องซ่อนคนเดียว ที่เดียวกันจะซ่อนมากกว่า 1 คนไม่ได้

» การเล่นของเด็กไทย เล่นตี่จับ. แบ่งเป็น 2 ฝ่ายเท่าๆกัน และจับไม้สั้นไม้ยาวว่าใครจะเริ่มตี่ก่อน ฝ่ายที่ตี่ก่อน เริ่มเล่นโดยเลือกพวกของตนคนหนึ่งเป็นคนเข้าไปตี่ คนตี่จะออกเสียง "ตี่" หรือ "หึ่ม" เข้าไปในแดนฝ่ายตรงข้าม ในขณะเดียวกันฝ่ายตรงข้ามต้องคอยยึดตัวไม่ให้กลับเข้าแดนของตนได้ จนกว่าจะขาดเสียงผู้นั้นต้องมาเป็นเชลยของฝ่ายตรงข้าม แต่ถ้าสามารถหนีกลับเข้าแดนตนได้ คนที่ถูกแตะจะกี่คนก็ตามต้องไปเป็นเชลยสลับกัน เมื่อมีฝ่ายของตนเป็นเชลย ผู้ที่ตี่คนต่อไปต้องพยายามช่วยพวกของตนกลับมาให้ได้ ฝ่ายตรงข้ามต้องคอยกันไม่ให้แตะกันได้ ถ้าแตะกันได้เชลยจะได้กลับแดนของตน เล่นกันเช่นนี้จนกว่าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะหมดตัวผู้เล่นก่อน ฝ่ายชนะมีสิทธ์จะให้ฝ่ายแพ้ทำอะไรก็ได้

» การเล่นของเด็กไทย เล่นรีรีข้าวสาร. วิธีเล่น จับไม้สั้นไม้ยาว ให้ผู้เล่น 2 คน ยืนเอามือประสานกันเหนือศีรษะเป็นประตูโค้ง คนอื่นๆ เกาะไหล่กันลอดใต้โค้งไปเรื่อยๆ สองคนที่เป็นประตูจะร้องเพลงประกอบเวลา แถวลอดใต้โค้งหัวแถวจะต้องเดินอ้อมหลังคนที่เป็นประตูครั้งละหน เมื่อจบเพลงสอง คนที่เป็นประตูจะกระดุกแขนลงกั้นคนสุดท้ายให้อยู่ระหว่างกลาง คัดออกไป คนข้างหลังต้องระวังตัวให้ดี มิฉะนั้นตนเองต้องออกจากการเล่น ต้องผ่านให้ได้หมดทุกคนจึงจะจบ

» การของเด็กไทย เล่นจ้ำจี้. การของเด็กไทย เล่นจ้ำจี้ ผู้เล่นนั่งล้อมวงกัน คว่ำมือทั้งสองลงบนพื้น คนหนึ่งเป็นคนจี้ โดยใช้นิ้วชี้จิ้มไปที่นิ้วของผู้เล่นไล่ไปทีละนิ้วให้รอบวง พร้อมทั้งร้องเพลงไปด้วย เมื่อร้องจบแล้ว จิ้มอยู่ที่นิ้วใดคนนั้นต้องพับนิ้วนั้นเข้าไป ผู้จิ้มก็เริ่มเล่นใหม่ไปเรื่อยๆ ใครต้องพับนิ้วทั้งหมดเ ป็นคนแรกแพ้

» การเล่นของเด็กไทย เล่นเดินกะลา. เอาเชือกเส้นหนึ่งยาวประมาณ 1 วา ร้อยกะลามะพร้าว 2 อัน แล้วผู้เล่นขึ้นไปยืนบนกะลามะพร้าว โดยใช้นิ้วหัวแม่เท้ากับนิ้วชี้หนีบเส้นเชือกเอาไว้ทั้ง 2 เท้า (เหมือนกับหนีบรองเท้าฟองน้ำ) เมื่อ

» Songkran Festival วันสงกรานต์. Welcome to "Songkran Day" This is a Thai traditional New Year which starts on April 13th every year. ประเพณีวันสงกรานต์ปกติมีทั้งหมด๓วัน คือเริ่มตั้งแต่วันที่ ๑๓ เมษายน ถึง ๑๕ เมษายน โดยถือเอาวันที่ ๑๓ เป็นวันต้น หรือวันมหาสงกรานต์ วันที่ ๑๔ เป็นวันเนาหรือวันกลาง และวันที่ ๑๕ เป็นวันเถลิงศก หรือวันสุดท้าย แต่วันต้นวันเนาวันเถลิงศกนี้ หากนับทางจันทรคติหรือคำนวณทางโหราศาสตร์อาจจะคลาดเคลื่อนกันบ้างในแต่ละปี

» ตรุษจีนในประเทศไทย. ชาวไทยเชื้อสายจีนจะถือประเพณีปฏิบัติอยู่ 3 วัน คือวันจ่าย วันไหว้ และวันปีใหม่

» วันสำคัญ วันโกนและวันพระ. วันโกน คือ วัขขึ้น 7 ค่ำกับ 17 ค่ำ และวันแรม 7 ค่ำกับ 14 ค่ำ ของทุกเดือน (หรือ วันแรม 13 ค่ำ หากตรงกับเดือนขาด)ซึ่งเป็นวันก่อนวันพระ1วัน วันพระ คือ วันขึ้น 8 ค่ำกับ 15 ค่ำ และวันแรม 8 ค่ำกับ 15 ค่ำ ของทุกเดือน(หรือวันแรม 14 ค่ำ หากตรวกับเดือนขาด)

» วันสำคัญ วันขึ้นปีใหม่. แต่เดิมประเทศไทยได้ถือเอา วันแรม ๑ ค่ำเดือนอ้าย เป็นวันขึ้นปีใหม่ ต่อมาได้เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่เป็นวันขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๕ ซึ่งตรงกับวันสงกรานต์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยูหัวจึงให้ถือเอาวันที่ ๑ เมษายนเป็นวันขึ้นปีใหม่ของไทยนับแต่นั้นมา

» วันสำคัญ วันวิสาขบูชา. เมื่อถึงวันวิสาขบูชา ทางราชการกำหนดให้เป็นวันหยุดราชการ 1 วัน ชาวพุทธจะประกอบพิธีกรรมตามประเพณีนิยมดังนี้ 1. ทำบุญตักบาตร ฟังเทศน์ รักษาศีล 2. ประกอบพิธีเวียนเทียน 3. บำเพ็ญสาธารณประโยชน์ วันวิสาขบูชาย่อมาจากคำว่า วิสาขปุรณนีบูชา หมายถึง การบูชาในวันเพ็ญเดือนวิสาขะ (เดือน6) ในวันนี้ได้มีเหตุการณ์ที่สำคัญเกิดขึ้นได้แก่........

» วันสำคัญ วันสงกรานต์. ประเพณีวันสงกรานต์ปกติมีทั้งหมด๓วัน คือเริ่มตั้งแต่วันที่ ๑๓ เมษายน ถึง ๑๕ เมษายน โดยถือเอาวันที่ ๑๓ เป็นวันต้น หรือวันมหาสงกรานต์ วันที่ ๑๔ เป็นวันเนาหรือวันกลาง และวันที่ ๑๕ เป็นวันเถลิงศก หรือวันสุดท้าย แต่วันต้นวันเนาวันเถลิงศกนี้ หากนับทางจันทรคติหรือคำนวณทางโหราศาสตร์อาจจะคลาดเคลื่อนกันบ้างในแต่ละปี

» วันสำคัญ วันมาฆบูชา. ประชาชนจะจัดเตรียมเครื่องสัการะ เช่น ดอกไม้ ธูป เทียน ไปพร้อมกันที่วัดในเวลาเย็นหรือค่ำ เพื่อประกอบพิธีมาฆบูชา การประกอบพิธีกรรมจะทำที่โบสถ์ เพราะหลังจากฟังโอวาทและสวดมนต์เสร็จแล็ว จะทำการเวียนเทียนรอบโบสถ์ ในการเดินเวียนเทียนรรอบโบสถ์ จะกระทำ3รอบ โดยเวียนไปทางขวาเรียกว่า เวียนแบบทักขิณาวัฏ ในขณะเดินเวียนเทียน ต้องทำจิตใจให้มีสมาธิ สงบและแน่วแน่อยู่กับบทบูชาพระพุทธคุณ พระธรรมคุณและพระสังฆคุณ ไม่ควรส่งเสียงพูดคุยเสียงดังหรือเดินแซงผู้ที่เดินนำอยู่ข้างหน้า

» วันสำคัญ วันออกพรรษา. การประกอบพิธีสำคัญในวันนี้ เหล่าชาวพุทธจะนิยมทำบูญกุศลเป็นกรณีพิเศษ เช่น ตักบาตรในตอนเช้า ถวายสังฆทาน ไปทำบุญที่วัด ถวายภัตตาหาร ฟังพระธรรมเทศนา และมีการตักบาตรเทโวในวันรุ่งขึ้นโดย เรียกกันเต็ม ๆ ว่า ตักบาตรเทโวโรหนะ คือตักบาตรเนื่องในวันคล้ายวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงมาจากเทวโลก

» วันสำคัญ วันเข้าพรรษา. การเข้าพรรษานั้นเป็นกิจกรรมของพระสงฆ์โดยเฉพาะ เดิมทีนั้นพระพุทธองค์ยังมิได้บัญญัติพระวินัยเรื่องการเข้าพรรษาของพระสงฆ์ แต่ต่อมาพระภิกษุสงฆ์ที่ออกไปเผยแผ่พระศาสนาในฤดูฝนนั้นได้เหยียบย่ำพืชที่ ชาวบ้านปลูกเอาไว้ ทำให้ได้รับความเสียหาย ต่อมาประชาชนได้ไปกราบทูลต่อพระพุทธเจ้า ดังนั้นเพื่อมิให้ประชาชนเดือดร้อน พระพุทธองค์จึงทรงบัญญัติให้พระภิกษุสงฆ์อยู่ประจำพรรษาในฤดูฝนตลอดระยะเวลา 3 เดือน (ภาพจากจังหวัดชัยภูมิ)

» วันสำคัญ วันอาสาฬหบูชา. อาสฬหบูชา ย่อมาจากคำว่า อาสาฬหปุรณมีบูชา แปลว่า การบูชาในวันเพ็ญเดือน อาสาฬห คือ เดือน 8 ถือเป็นวันสำคัญวันหนึ่งในพระพุทธศาสนา เพราะมีเหคชตุการณ์สำคัญเกิดขึ้น 3 ประการคือ....

หน้าที่ของวัฒนธรรม

วัฒนธรรมและประเพณีไทย

การ ที่มนุษย์มาอยู่รวมกันเป็นกลุ่มเป็น สังคมขึ้นมาย่อมต้องมีความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกของกลุ่มมีระเบียบแบบแผนที่ ควบคุมพฤติกรรมของบุคคลในกลุ่มให้อยู่ในขอบเขตที่จะอยู่ร่วมกันอย่างมีความ สงบสุข สิ่งที่เป็นเครื่องมือในการควบคุมพฤติกรรมของกลุ่มคนนี้เราเรียกว่า "วัฒนธรรม" ดังนั้น วัฒนธรรมจึงเปรียบเสมือนอาภรณ์ห่อหุ้มร่างกายตกแต่งคนให้น่าดูชม วัฒนธรรมเป็นสิ่งที่ต้องควบคู่กับคนเสมอไป


"วัฒนธรรมมีความหมายครอบคลุมทุกสิ่ง ทุกอย่าง ที่แสดงออกถึงวิถีชีวิตของมนุษย์ในสังคมกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง หรือสังคมใดสังคมหนึ่ง มนุษย์ได้คิดสร้างระเบียบกฎเกณฑ์ใช้ในการปฏิบัติ การจัดระเบียบตลอดจนระบบความเชื่อ ค่านิยม ความรู้ และเทคโนโลยีต่าง ๆ ในการควบคุมและใช้ประโยชน์จากธรรมชาติ"
"วัฒนธรรมคือความเจริญก้าวหน้าของมนุษย์ หรือลักษณะประจำชนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งที่อยู่ในสังคม ซึ่งไม่เพียงแต่จะหมายถึงความสำเร็จในด้านศิลปกรรมหรือมารยาททางสังคมเท่า นั้น  กล่าวคือ ชนทุกกลุ่มต้องมีวัฒนธรรม ดังนั้น เมื่อมีความแตกต่างระหว่างชนแต่ละกลุ่ม ก็ย่อมมีความแตกต่างทางวัฒนธรรมนั่นเอง เช่น ชาวนาจีน กับชาวนาในสหรัฐอเมริกา ย่อมมีความแตกต่างกัน
"วัฒนธรรมคือสิ่งที่มนุษย์เปลี่ยนแปลงหรือปรับปรุงหรือผลิตสร้างขึ้น เพื่อความเจริญงอกงามในวิถีชีวิตและส่วนรวม วัฒนธรรมคือวิถีแห่งชีวิตของมนุษย์ในส่วนร่วมที่ถ่ายทอดกันได้ เรียนกันได้ เอาอย่างกันได้ วัฒนธรรมจึงเป็นผลผลิตของส่วนร่วมที่มนุษย์ได้เรียนรู้มาจากคนสมัยก่อน สืบต่อกันมาเป็นประเพณี วัฒนธรรมจึงเป็นทั้งความคิดเห็นหรือการกระทำของมนุษย์ในส่วนร่วมที่เป็น ลักษณะเดียวกัน และสำแดงให้ปรากฏเป็นภาษา ความเชื่อ ระเบียบประเพณี
พระราชบัญญัติ วัฒนธรรมแห่งชาติพุทธศักราช 2485 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พุทธศักราช 2486 ได้ให้ความหมายของวัฒนธรรมไว้ดังนี้
วัฒนธรรม คือ ลักษณะที่แสดงถึงความเจริญงอกงาม ความเป็นระเบียบเรียบร้อย ความกลมเกลียวก้าวหน้าของชาติ และศีลธรรมอันดีของประชาชน
วัฒนธรรม จึงเป็นลักษณะพฤติกรรมต่างๆ ของมนุษย์ซึ่งเป็นวิถีชีวิตของมนุษย์ ทั้งบุคคลและสังคมที่ได้วิวัฒนาการต่อเนื่องมาอย่างมีแบบแผน แต่อย่างไรก็ดีมนุษย์นั้นไม่ได้เกาะกลุ่มอยู่เฉพาะในสังคมของตนเอง ได้มีความสัมพันธ์ติดต่อกับสังคมต่างๆ ซึ่งอาจอยู่ใกล้ชิดมีพรมแดนติดต่อกัน หรือยู่ปะปนในสถานที่เดียวกันหรือ การที่ชนชาติหนึ่งตกอยู่ใต้การปกครองของชนชาติหนึ่ง มนุษย์เป็นผู้รู้จัก เปลี่ยนแปลงปรับปรุงสิ่งต่าง ๆ จึงนำเอาวัฒนธรรมที่เห็นจากได้สัมพันธ์ติดต่อมาใช้โดยอาจรับมาเพิ่มเติมเป็น วัฒนธรรมของตนเองโดยตรงหรือนำเอามาดัดแปลงแก้ไขให้สอดคล้องเหมาะสมกับสภาพ วัฒนธรรมที่มีอยู่เดิม
ในปัจจุบันนี้จึงไม่มีประเทศชาติใดที่ มีวัฒนธรรมบริสุทธิ์อย่างแท้จริง แต่จะมีวัฒนธรรมที่มีพื้นฐานมาจากความรู้ ประสบการณ์ที่สังคมตกทอดมาโดยเฉพาะของสังคมนั้น และจากวัฒนธรรมแหล่งอื่นที่เข้ามาผสมปะปนอยู่ และวัฒนธรรมไทยก็มีแนวทางเช่นนี้



ความสำคัญของวัฒนธรรมดังนี้

วัฒนธรรมเป็นเรื่องที่สำคัญยิ่งในความเป็นชาติ ชาติใดที่ไร้เสียซึ่งวัฒนธรรมอันเป็นของตนเองแล้ว ชาตินั้นจะคงความเป็นชาติอยู่ไม่ได้ ชาติที่ไร้วัฒนธรรม แม้จะเป็นผู้พิชิตในการสงคราม แต่ในที่สุดก็จะเป็นผู้ถูกพิชิตในด้านวัฒนธรรม ซึ่งนับว่าเป็นการถูกพิชิตอย่างราบคาบและสิ้นเชิง ทั้งนี้เพราะผู้ที่ถูกพิชิตในทางวัฒนธรรมนั้นจะไม่รู้ตัวเลยว่าตนได้ถูก พิชิต เช่น พวกตาดที่พิชิตจีนได้ และตั้งราชวงศ์หงวนขึ้นปกครองจีน แต่ในที่สุดถูกชาวจีนซึ่งมีวัฒนธรรมสูงกว่ากลืนจนเป็นชาวจีนไปหมดสิ้น ดังนั้นจึงพอสรุปได้ว่า วัฒนธรรมมีความสำคัญดังนี้

  • วัฒนธรรมเป็นสิ่งที่ชี้แสดงให้เห็นความแตกต่างของบุคคล กลุ่มคน หรือชุมชน
  • เป็นสิ่งที่ทำให้เห็นว่าตนมีความแตกต่างจากสัตว์
  • ช่วยให้เราเข้าใจสิ่งต่าง ๆ ที่เรามองเห็น การแปลความหมายของสิ่งที่เรามองเห็นนั้นขึ้นอยู่กับวัฒนธรรมของกลุ่มชน ซึ่งเกิดจากการเรียนรู้และถ่ายทอดวัฒนธรรม เช่น ชาวเกาะซามัวมองเห็นดวงจันทร์ว่ามีหญิงกำลังทอผ้า ชาวออสเตรเลียเห็นเป็นตาแมวใหญ่กำลังมองหาเหยื่อ ชาวไทยมองเห็นเหมือนรูปกระต่าย
  • วัฒนธรรมเป็นตัวกำหนดปัจจัย 4 เช่น เครื่องนุ่งห่ม อาหาร ที่อยู่อาศัย การรักษาโรค
  • วัฒนธรรมเป็นตัวกำหนดการแสดงความ รู้สึกทางอารมณ์ และการควบคุมอารมณ์ เช่น ผู้ชายไทยจะไม่ปล่อยให้น้ำตาไหลต่อหน้าสาธารณะชนเมื่อเสียใจ
  • เป็นตัวกำหนดการกระทำบางอย่าง ในชุมชนว่าเหมาะสมหรือไม่ ซึ่งการกระทำบางอย่างในสังคมหนึ่งเป็นที่ยอมรับว่าเหมาะสมแต่ไม่เป็นที่ยอม รับในอีกสังคมหนึ่ง
จะเห็นได้ว่าผู้สร้างวัฒนธรรมคือมนุษย์ และสังคมเกิดขึ้นก็เพราะ มนุษย์ วัฒนธรรมกับสังคมจึงเป็นสิ่งคู่กัน โดยแต่ละสังคมย่อมมีวัฒนธรรมและหากสังคมมีขนาดใหญ่หรือมีความซับซ้อน มากเพียงใด ความหลากหลายทางวัฒนธรรมมักจะมีมากขึ้นเพียงใดนั้นวัฒนธรรมต่าง ๆ ของแต่ละสังคมอาจเหมือนหรือต่างกันสืบเนื่องมาจากความแตกต่างทางด้านความ เชื่อ เชื้อชาติ ศาสนาและถิ่นที่อยู่ เป็นต้น


ลักษณะของวัฒนธรรม

เพื่อที่จะให้เข้าใจถึงความหมายของคำว่า "วัฒนธรรม" ได้อย่างลึกซึ้ง จึงขออธิบายถึงลักษณะของวัฒนธรรม ซึ่งอาจแยกอธิบายได้ดังต่อไปนี้

  • วัฒนธรรมเป็นพฤติกรรมที่เกิดจากการ เรียนรู้ มนุษย์แตกต่างจากสัตว์ ตรงที่มีการรู้จักคิด มีการเรียนรู้ จัดระเบียบชีวิตให้เจริญ อยู่ดีกินดี มีความสุขสะดวกสบาย รู้จักแก้ไขปัญหา ซึ่งแตกต่างไปจากสัตว์ที่เกิดการเรียนรู้โดยอาศัยความจำเท่านั้น
  • วัฒนธรรมเป็นมรดกของสังคม   เนื่องจากมีการถ่ายทอดการเรียนรู้ จากคนรุ่นหนึ่งไปสู่คนรุ่นหนึ่ง ทั้งโดยทางตรงและโดยทางอ้อม โดยไม่ขาดช่วงระยะเวลา และ มนุษย์ใช้ภาษาในการถ่ายทอดวัฒนธรรม ภาษาจึงเป็นสัญลักษณ์ที่ใช้ถ่ายทอดวัฒนธรรมนั่นเอง
  • วัฒนธรรมเป็นวิถีชีวิต  หรือเป็นแบแผนของการดำเนินชีวิตของ มนุษย์   มนุษย์เกิดในสังคมใดก็จะเรียนรู้และซึมซับในวัฒนธรรมของสังคมที่ตนเองอาศัย อยู่ ดังนั้น วัฒนธรรมในแต่ละสังคมจึงแตกต่างกัน
  • วัฒนธรรมเป็นสิ่งที่ไม่คงที่ มนุษย์มีการคิดค้นประดิษฐ์สิ่งใหม่ ๆ และ ปรับปรุงของเดิมให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป เพื่อความเหมาะสม และความอยู่ รอดของสังคม เช่น สังคมไทยสมัยก่อนผู้หญิงจะทำงานบ้าน ผู้ชายทำงานนอกบ้าน เพื่อหาเลี้ยง ครอบครัว  แต่ปัจจุบันสภาพสังคมเปลี่ยนแปลงไป ทำให้ผู้หญิงต้องออกไปทำงานนอกบ้าน เพื่อหา รายได้มาจุนเจือครอบครัว บทบาทของผู้หญิงในสังคมไทยจึงเปลี่ยนแปลงไป

หน้าที่ของวัฒนธรรม
  • วัฒนธรรมเป็นตัวกำหนดรูปแบบของสถาบัน ซึ่งมีลักษณะแตกต่าง กันไปในแต่ละสังคม เช่น วัฒนธรรมอิสลามอนุญาตให้ชาย (ที่มีความสามารถเลี้ยงดูและ ให้ความ ยุติธรรมแก่ภรรยา) มีภรรยาได้มากกว่า 1 คน โดยไม่เกิด 4 คน แต่ห้ามสมสู่ ระหว่าง เพศเดียว กัน อย่างเด็ดขาด ในขณะที่ศาสนาอื่นอนุญาตให้ชายมีภรรยาได้เพียง 1 คน แต่ไม่มีบัญญัติห้าม ความสัมพันธ์ระหว่างเพศเดียวกัน ฉะนั้นรูปแบบของสถาบันครอบครัวจึงอาจแตกต่างกันไป
  • วัฒนธรรมเป็นสิ่งที่กำหนดพฤติกรรมของ มนุษย์  พฤติกรรมของคน จะเป็นเช่นไรก็ขึ้นอยู่กับวัฒนธรรมของกลุ่มสังคมนั้น ๆ เช่น วัฒนธรรมในการพบปะทักทายของ ไทย ใช้ในการสวัสดีของชาวตะวันตกทั่วไปใช้ในการสัมผัสมือ ของชาวทิเบตใช้การแลบลิ้น ของชาว มุสลิมใช้การกล่าวสลาม เป็นต้น
  • วัฒนธรรมเป็นสิ่งที่ควบคุมสังคม สร้างความเป็นระเบียบ เรียบร้อย ให้แก่สังคม เพราะในวัฒนธรรมจะมีทั้งความศรัทธา  ความเชื่อ ค่านิยม บรรทัดฐาน เป็นต้น ตลอดจน ผลตอบแทนในการปฏิบัติและบทลงโทษเมื่อฝ่าฝืน
ฉะนั้นจึงกล่าวได้ว่า ถ้าหากเข้าใจในเรื่องวัฒนธรรมดีแล้ว จะทำให้ สามารถเข้าใจพฤติกรรมต่าง ๆ ของคนในแต่ละสังคมได้อย่างถูกต้อง

ที่มาของวัฒนธรรมไทย

วัฒนธรรมไทยมีที่มาจากปัจจัยต่าง ๆ ดังนี้

  • สิ่งแวดล้อมทางภูมิศาสตร์ เนื่องจากสังคมไทยมีลักษณะทางด้านภูมิศาสตร์เป็นที่ราบลุ่มและอุดมสมบูรณ์ ด้วยแม่น้ำลำคลอง คนไทยได้ใช้น้ำในแม่น้ำ ลำคลอง ในการเกษตรกรรมและการอาบ กิน เพราะฉะนั้นเมื่อถึงเวลาหน้าน้ำ คือ เพ็ญเดือน 11 และเพ็ญ เดือน 12 ซึ่งอยู่ในห้วงเวลาปลายเดือนตุลาคมและปลายเดือนพฤศจิกายน อันเป็นระยะเวลา ที่ น้ำไหลหลากมาจากทางภาคเหนือของประเทศ คนไทยจึงจัดทำกระทงพร้อม ด้วยธูปเทียนไปลอย ในแม่น้ำลำคลอง เพื่อเป็นการขอขมาลาโทษแม่คงคา และขอพรจากแม่คงคา เพราะได้อาศัยน้ำกิน น้ำใช้ ทำให้เกิด "ประเพณีลอยกระทง"   นอกจากนั้นยังมีประเพณีอื่น ๆ  อีกในส่วนที่เกี่ยวกับ แม่น้ำลำคลอง  เช่น     "ประเพณีแข่งเรือ"
  • ระบบการเกษตรกรรม สังคมไทยเป็นสังคมเกษตรกรรม (agrarian society) กล่าวคือ ประชากรร้อยละ 80 ประกอบอาชีพเกษตรกรรม หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่า คนไทยส่วนใหญ่มีวิถีชีวิตผูกพันกับระบบการเกษตรกรรม และระบบการเกษตรกรรมนี้เอง ได้เป็น ที่มาของวัฒนธรรมไทยหลายประการ เช่น ประเพณีขอฝน ประเพณีลงแขก และการละเล่น เต้นกำรำเคียว เป็นต้น
  • ค่านิยม (Values) กล่าวได้ว่า "ค่านิยม" มีความเกี่ยวพันกับ วัฒนธรรมอย่างใกล้ชิด และ "ค่านิยม" บางอย่างได้กลายมาเป็น "แกน" ของวัฒนธรรมไทยกล่าวคือ วิถีชีวิตของคนไทยโดยส่วนรวมมีเอกลักษณ์ซึ่งแสดงออกถึงอิสรภาพและเสรีภาพ
  • การเผยแพร่ทางวัฒนธรรม (Cultural diffusion) วัฒนธรรมทาง หนึ่ง ย่อม แตกต่างไปจากวัฒนธรรมทางสังคมอื่น ๆ ทั้งนี้เพราะวัฒนธรรมมิได้เกิดขึ้นมาใน ภาชนะ ที่ถูกผนึกตราบเท่าที่มนุษย์ เช่น นักท่องเที่ยว พ่อค้า ทหาร หมอสอนศาสนา และผู้อพยพยังคง ย้ายถิ่นที่อยู่จากแห่งหนึ่งไปยังแห่งอื่น ๆ เขาเหล่านั้นมักนำวัฒนธรรมของพวกเขาติดตัว ไปด้วย เสมอ ซึ่งถือได้ว่า เป็นการเผยแพร่ทางวัฒนธรรม เป็นไปได้อย่างสะดวกรวดเร็วและกว้างขวาง ประจักษ์ พยานในเรื่องนี้จะเห็นได้ว่าน้ำอัดลมชื่อต่าง ๆ มีอยู่ทั่วทุกมุมโลก วัฒนธรรมของสังคมอื่น ซึ่งได้เผยแพร่เข้ามาในสังคมไทย

วัฒนธรรมไทย



วัฒนธรรม หมายถึง วิถีการดำเนินชีวิต ที่มนุษย์สร้างขึ้นมานั่นเอง ไม่ว่าจะเป็นการละเล่น การแสดง การร้องเพลง พฤติกรรม และบรรดาผลงานทั้งมวลที่มนุษย์ได้สร้างสรรค์ขึ้น ไม่ว่าจะเป็นงานด้านจิตกรรม สถาปัตยกรรม ตลอดจนความคิด ความเชื่อ ความรู้ ลักษณะที่แสดงความเจริญงอกงาม ความเป็นระเบียบความรู้สึก ความประพฤติและกิริยาอาการ หรือการกระทำใด ๆ ของมนุษย์ในส่วนรวม ลงรูปเป็นพิมพ์เดียวกันและสำแดงออกมาให้ปรากฏเป็นภาษา ศิลปะ ความเชื่อถือ ระเบียบ ประเพณี ความกลมเกลียว ความก้าวหน้าของชาติและศีลธรรมอันดีงามของประชาชน

ซึ่งวัฒนธรรมของคนแต่ละภาคในประเทศไทยก็มีความเหมือนและแตกต่างกันบ้าง ตามแต่ละพื้นที่ของประเทศไทย รวมทั้งการสืบทอดหรืออาจมีการดัดแปลงบ้างเพื่อให้มีความเป็นสมัยนิยมมากขึ้น รวมทั้งสามารถประพฤติปฏิบัติกันได้อย่างทั่วถึงด้วยนั้นเอง
เมื่อเราทราบที่มาและความหมายของวัฒนธรรมแล้วเรามารู้จักวัฒนธรรมไทยที่ มีมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันทั้งที่ทำกันทั้งประเทศและมีการแยกแต่ละ ภูมิภาคอีกด้วย

วัฒนธรรมไทย : ด้านการแต่งกาย
 

วัฒนธรรม ไทยด้านการแต่งกาย ตั้งแต่ในอดีตมานั้นคนไทยมีเอกลักษณ์ด้านการแต่งกายที่ใช้ผ้าไทยซึ่งทำจาก ผ้าไหม ผ้าทอมือต่างๆ นำมาทำเป็นผ้าสไบสำหรับผู้หญิงไทย ส่วนผู้ชายก็   มีการแต่งกายที่นิยมสำหรับชาวบ้านก็คงหนีไม่พ้นผ้าขาวม้าซึ่งนิยมใช้มา ตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงปัจจุบันก็ยังมีอยู่
ซึ่งในปัจจุบันนี้เราหาแทบไม่ได้แล้วสำหรับการแต่งกายแบบนี้ เนื่องจากคนไทยสมัยปัจจุบันนิยมแต่งกายตามแบบนิยมตามชาวยุโรปซึ่งทำให้กาย แต่งกายแบบอดีตเริ่มเลื่อนหายไปมาก
ดังนั้นเพื่อให้วัฒนธรรมการแต่งกายแบบไทยยังคงอยู่ต่อไปเราชาวไทยควรช่วย กันอนุรักษ์วัฒนธรรมการแต่งกายแบบไทยไว้เพื่อลูกหลานของเราจะได้ไม่ตกเป็น เครื่องมือของต่างชาติต่อไป
วัฒนธรรมไทย : ด้านภาษา

ประเทศไทยมีภาษาเป็นของตนเองมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันเนื่องจากประเทศ ไทยไม่เคยตกเป็นเมืองขึ้นของประเทศใดในโลก ทำให้เรามีภาษาไทยใช้มาจนถึงปัจจุบัน และในประเทศไทยก็มีภาษาทางการ คือภาษากลาง ซึ่งคนในประเทศไม่ว่าจะอยู่ในภาคไหนก็สามารถสื่อสารกันได้ด้วยภาษากลางนั้น เอง เพราะในประเทศไทยเรามีถึง 4 ภาคหลักและในแต่ละภาคก็ใช้ภาษาที่แตกต่างกันไปบ้างดังนั้นเพื่อให้คนไทย สามารถสื่อสารตรงกันได้เราจึงมีภาษากลางเกิดขึ้นนั่นเอง

วัฒนธรรมไทย : ด้านอาหาร


วัฒนธรรมที่มีความสำคัญกับคนไทยไม่น้อยไปกว่าวัฒนธรรมด้านการแต่งกายและ วัฒนธรรมด้านภาษาคือวัฒนธรรมด้านอาหาร ซึ่งวัฒนธรรมด้านอาหารของคนไทยนั้นก็มีมาตั้งแต่สมัยอดีตจนมาถึงปัจจุบัน ซึ่งแต่ละพื้นที่จะมีลักษณะอาหารการกินที่แตกต่างกันออกไป แต่โดยรวมแล้วเราจะเรียกว่าวัฒนธรรมอาหารไทย ซึ่งอาหารไทยนั้นมีมากมายที่ขึ้นชื่อของไทย และโด่งดังไปทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็น ต้มยำกุ้ง ผัดไทย เป็นต้น อาหารถือเป็นวัฒนธรรมอีกอย่างหนึ่งของไทย ที่คนไทยควรให้ความสำคัญ และถือว่าอาหารไทยก็ไม่แพ้อาหารของชนชาติใด

การอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย

 

วัฒนธรรม หลักๆ ที่เรามีอยู่ในประเทศไทยซึ่งจริงๆ แล้วเรายังมีวัฒนธรรมอีกมายมากเพียงแต่อาจจะใช้กันในชุมชนหรือหมู่บ้านของ แต่ละท้องถิ่น แต่เมื่อเรามีวัฒนธรรมหลักที่เป็นของเราเองอยู่แล้วเราก็ควรอนุรักษ์ไว้ให้ เป็นเอกลักษณ์ของเราไม่ควรให้ต่างชาติมามีอิทธิต่อเรามากเกินไปเพราะวัน หนึ่งเราอาจไม่เหลือวัฒนธรรมไทยอะไรให้จดจำอีกเลย ฉะนั้นเรามาร่วมกันอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยไว้เถิดเพื่อลูกหลานเราในอนาคตจะได้ ไม่หลงลืมไปและพูดถึงประเทศไทยได้อย่างเต็มความภาคภูมิใจในความเป็นไทยตลอด ไป

ขอขอบคุณแหล่งข้อมูลจาก
http://www.thaibigbang.com

วัฒนธรรมไทย

วัฒนธรรมไทย
การอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย วัฒนธรรมไทยเป็นวัฒนธรรมที่ดีงามและยึดถือปฏิบัติกันมานานแล้วตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันการ อนุรักษ์วัฒนธรรมไทยนั้น ต้องอาศัยความร่วมมือกันของคนไทยทุกคนเพื่อมาให้สิ่งที่ล้ำค่าสูญหายไป เหมือนกับบรรพบุรุษได้รักษากันเอาไว้เป็นเวลานานนับหลายร้อยปีค่ะ โดยการอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยมีวิธีการ ดังต่อไปนี้ค่ะ

1. ศึกษา ค้นคว้า และการวิจัยวัฒนธรรมไทยและวัฒนธรรมท้องถิ่น ได้มีการศึกษาเกี่ยวกับวัฒนธรรมไทย ทั้งที่มีการรวบรวมไว้แล้วและยังไม่ได้ศึกษาก็รวมอยู่ด้วย ในการทำเช่นนี้ก็เพื่อให้เราทราบถึงความหมาย และความสำคัญของวัฒนธรรมที่ มาช้านานในฐานะที่เป็นมรดกของไทยอย่างถ่องแท้และทำการสืบต่อกันมา ซึ่งความรู้ดังกล่าวถือเป็นรากฐานของการดำเนินชีวิต และสามารถนำมาอ้างอิงในการใช้ชีวิตในปัจจุบัน เพื่อให้เห็นคุณค่า ทำให้เกิดการยอมรับ และนำไปใช้ประโยชน์อย่างเหมาะสม ต่อไปเกี่ยวกับสิ่งที่เกิดขึ้น และสามารถนำมาประยุกต์ในปัจจุบันได้
2. ส่งเสริมให้ทุกคนเห็นคุณค่า ร่วมกันรักษาเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของชาติและของท้องถิ่น เพื่อ สร้างความเข้าใจและมั่นใจแก่ประชาชนในการปรับเปลี่ยนและตอบสนองกระแส วัฒนธรรมอื่นๆ อย่างเหมาะสม การส่งเสริมวัฒนธรรมนั้นทำได้ไม่ยาก ยกตัวอย่างกันได้จากสถานที่ก็ได้ เช่น วัดเป็นที่รวมในหลายๆ อย่าง การที่เราไปวัดเราควรนุ่งกระโปร่งหรือแต่งกายให้เหมาะสมเพราะวัดเป็นสถานที่ ศักดิ์สิทธิ์และถือเป็นการเคารพศาสนาด้วยค่ะ

3. รณรงค์ให้ประชาชนและภาคเอกชน ตระหนักในความสำคัญ ของวัฒนธรรม ว่า เป็นเรื่องที่ทุกคนต้องให้การรับผิดชอบร่วมกันในการส่งเสริมสนับสนุน ประสานงานการบริการความรู้ วิชาการ และทุนทรัพย์สำหรับจัดกิจกรรมทางวัฒนธรรม

4. ส่งเสริมและแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมภายในประเทศและระหว่างประเทศ โดยการใช้ศิลปะวัฒนธรรมที่เป็นสื่อสร้างความสัมพันธ์ระหว่างกัน ในการใช้ศิลปะที่สื่อถึงกัน เช่น การพูด การไหว้ หรือศิลปะการแสดง เช่น การรำของไทย ถือว่าเป็นการส่งเสริมวัฒนธรรมอีกอย่างหนึ่งค่ะ

5. สร้างทัศนคติ ความรู้ และความเข้าใจว่าทุกคนมีหน้าที่เสริมสร้าง ฟื้นฟู และการดูแลรักษา สภาพ แวดล้อมทางธรรมชาติและทางวัฒนธรรมที่เป็นสมบัติของชาติ และมีผลโดยตรงของความเป็นอยู่ของทุกคน เพราะทุกวันนี้สังคมได้เจริญขึ้นมากและสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นนี้จะคงอยู่หรือ เปลี่ยนแปลงขึ้นอยู่กับเราชาวไทยที่มีหน้าที่ฟื้นฟู รักษาให้คงอยู่ต่อไปค่ะ

6. จัดทำระบบเครือข่ายสารสนเทศทางด้านวัฒนธรรมเพื่อเป็นศูนย์กลางเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผลงาน เพื่อให้ประชาชนเข้าใจ สามารถเลือกสรร ตัดสินใจ และปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับการดำเนินชีวิตทั้งนี้สื่อมวลชนควรมีบทบาทในการ ส่งเสริม และสนับสนุนงานด้านวัฒนธรรมมาก ยิ่งขึ้นด้วย โดยการให้ความรู้หรือการประสานงานกับหน่วยงานของรัฐบาลหรือโรงเรียน สถานีอนามัย เป็นต้น ให้มีส่วนร่วมในการประชาสัมพันธ์ให้ข้อมูลที่ถูกต้องและเป็นการอนุรักษ์ วัฒนธรรมอีกอย่างหนึ่งด้วย วัฒนธรรมไทยเป็นของคู่คนไทยมาช้านานเราคนรุ่นหลังควรอนุรักษ์สิ่งดีงามนี้ เอาไว้ให้คงอยู่ต่อไปเพื่อเป็นแบบอย่าง เป็นรากฐานต่อไปค่ะ

ขอขอบคุณบทความดีดีจาก  didnalwop.com

มรดกทางวัฒนธรรมของคนไทย

มรดกทางวัฒนธรรมของคนไทย

สำหรับเรื่องของวัฒนธรรมวันนี้ ก็จะขอนำเสนอเรื่องมรดกทางวัฒนธรรมของคนไทยนั่นเองล่ะค่ะ ซึ่งก็ได้มีการสืบทอดมาตั้งแต่ในสมัยโบราณจนถึงปัจจุบันนี้อีกด้วยล่ะค่ะ ดังต่อไปนี้
ลำดับที่ 1.ศิลปหัตถกรรมไทย
สำหรับศิลปหัตถกรรมไทยของใช้พื้นบ้านไทยในอดีต ก็ได้ถือว่าเป็นวัฒนธรรมทางวัตถุ ที่เป็นการสะท้อนให้เห็นวิถีชีวิตในสังคมระดับท้องถิ่น ไปจนถึงระดับประเทศชาติ เพื่อเป็นการแสดงถึงเอกลักษณ์ ซึ่งจะบ่งชี้ถึงความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ในการประดิษฐ์ไว้เป็นมรดกของลูกหลานรุ่นต่อไปเรื่อย ๆ จนถึงรุ่นลูกหลานนั่นเองล่ะค่ะ
ลำดับที่ 2.มารยาทไทย
สำหรับคนไทยนั้นก็ถือว่าได้รับการปลูกฝังจากบรรพบุรุษ โดยที่ได้มีการสืบทอดต่อกันมาในเรื่องธรรมเนียมประเพณี ที่เกี่ยวกับการปฏิบัติระหว่างบุคคล แล้วก็ต่อบุคคลที่สังคมยอมรับ อย่างเช่น การทักทายด้วยการกราบไหว้ กริยามารยาทที่เรียบร้อยอ่อนน้อมแบบไทย ๆ นั่นเองล่ะค่ะ
ลำดับที่ 3.วรรณกรรมไทย
สำหรับชาวไทยก็จะมีสุนทรียะอยู่ในความคิด ซึ่งจะมีความสร้างสรรค์อยู่ในสายเลือด เป็นคนเจ้าบทเจ้ากลอน วรรณกรรมไทยโบราณ จึงเป็นงานประเภทร้อยกรอง ที่ได้มีการแปรออกเป็นฉันทลักษณ์หลายหลากรูปแบบ ซึ่งในสมัยอยุธยาวรรณกรรมไทยเจริญสูงสุด โดยที่ในสมัยพระนารายณ์มหาราชก็ถือว่าเป็นยุคทองแห่งวรรณคดีอีกด้วยล่ะค่ะ
ลำดับที่ 4.ประเพณีไทย
สำหรับเรื่องของกิจกรรมที่คนไทยถือปฏิบัติตามความเชื่อ ถือศรัทธาในศาสนา กฎ ระเบียบ จารีตประเพณีที่ปฏิบัติสืบทอดกันมา หลายชั่วอายุคนแล้ว อย่างเช่น ประเพณีสงกรานต์ ประเพณีลอยกระทง พิธีมงคลสมรส และอื่นๆ ค่ะ
ลำดับที่ 5.ปฎิมากรรมไทย
แล้วส่วนใหญ่จะสร้างขึ้นด้วยความศรัทธา ในพระพุทธศาสนา ซึ่งได้แก่ พระพุทธรูปปางต่างๆ หรือตกแต่งสถาปัตยกรรม อย่างเช่น ช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ของโบสถ์วิหาร และอื่น ๆ ค่ะ
ลำดับที่ 6.ภาษาไทย
สำรับในเรื่องของภาษาเป็นสิ่งแสดงความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ของคนในชาติ ชาติไทยเรามีภาษาเป็นของตนเองทั้ง ภาษาพูด และภาษาเขียน ซึ่งพ่อขุนรามคำแหง ได้ทรงเป็นผู้ประดิษฐ์อักษร และตัวเลขไทยขึ้นเมื่อปี พ.ศ.1826 ที่ทำให้คนไทยมีภาษาเขียน เป็นภาษาประจำชาติอีกด้วยล่ะค่ะ
ลำดับที่ 7.ผ้าไทย
ซึ่งเป็นบรรพบุรุษของไทยในอดีตที่ได้มีความชำนาญในการทอผ้า และสร้างลวดลายบนผืนผ้า ทำให้เกิดเป็นเอกลักษณ์ของชาติขึ้น โดยที่ลักษณ์ของผ้าไทยจัดเป็นมรดก ทางวัฒนธรรมที่เด่นชัด เนื่องจากลวดลายและเอกลักษณ์ จะแตกต่างกันไปตามท้องถิ่นนั่นเองล่ะค่ะ
ลำดับที่ 9.อาหารไทย
สำหรับเรื่องขอบงอาหารไทยมีมากมายหลายชนิด ที่จะมีความแตกต่างกันไปตามแต่ละท้องถิ่น และก็ยังมีอาหารขึ้นชื่อของภาคต่างๆ แต่ส่วนประเภทของหวานมีการประดิษฐ์มากมาย โดยที่ได้มีการจัดได้ว่าเป็นเอกลักษณ์ของชาติไทยอีกด้วยล่ะค่ะ


ขอขอบคุณบทความดีดีจาก   baanjomyut.com

วัฒนธรรมตะวันออกและตะวันตกที่มีอิทธิพลต่อสังคมไทย

ตะวันออกและตะวันตกที่มีอิทธิพลต่อสังคมไทย
          การติดต่อกับชาวต่างชาติของคนไทยในยุคสมัยต่าง ๆ มีผลต่อสังคมไทยหลายด้าน  วัฒนธรรมตะวันออกและตะวันตกได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมไทย  โดยวัฒนธรรมบางอย่างได้ถูกปรับใช้ให้เหมาะสมกับวิถีชีวิตและประเพณีดั้งเดิม ของคนไทย  ขณะที่วัฒนธรรมบางอย่างรับมาใช้โดยตรง
          1.  วัฒนธรรมตะวันออกที่มีอิทธิพลต่อสังคมไทย
          อิทธิพลของวัฒนธรรมตะวันออกต่อสังคมไทยมีมาตั้งแต่ก่อนการตั้งอาณาจักรของคน ไทย  เช่น  สุโขทัย  ล้านนา  ซึ่งมีทั้งวัฒนธรรมที่รับจากอินเดีย  จีน  เปอร์เซีย  เพื่อนบ้าน  เช่น  เขมร  มอญ  พม่า  โดยผ่านการติดต่อค้าขาย  การรับราชการของชาวต่างชาติ  การทูต  และการทำสงคราม
          สำหรับตัวอย่างอิทธิพลของวัฒนธรรมตะวันออกที่มีต่อสังคมไทยมีดังนี้
                    1.  ด้านอักษรศาสตร์  เช่น  ภาษาไทยที่ถูกประดิษฐ์ขึ้นในสมัยสุโขทัยได้รับอิทธิพลจากภาษาขอม  รับภาษาบาลี  ภาษาสันสกฤตจากหลายทางทั้งผ่านพระพุทธศาสนา  ผ่านศาสนาพราหมณ์-ฮินดู  จากอินเดีย  เขมร  นอกจากนี้  ในปัจจุบันภาษาจีน  ญี่ปุ่น  เกาหลี  ก็ได้มีอิทธิพลต่อสังคมไทยมากขึ้น
                    2.  ด้านกฎหมาย  มีการรับรากฐานกฎหมาย  มีการรับรากฐานกฎหมายอินเดีย  ได้แก่  คัมภีร์พระธรรมศาสตร์  โดยรับผ่านมาจากหัวเมืองมอญอีกต่อหนึ่ง  และกลายเป็นหลักของกฎหมายไทยสมัยอยุธยาและใช้มาถึงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
                    3.  ด้านศาสนา  พระพุทธศาสนาเผยแผ่อยู่ในผืนแผ่นดินไทยมาเป็นเวลายาวนานแล้ว  ดังจะเห็นได้จากแว่นแคว้นโบราณ  เช่น  ทวารวดี  หริภุญชัยได้นับถือพระพุทธศาสนา  หรือสุโขทัย  รับพระพุทธศาสนาจากนครศรีธรรมราชและได้ถ่ายทอดให้แก่อาณาจักรอื่น ๆ ซึ่งมีผลต่อการดำเนินชีวิตและการสร้างสรรค์ศิลปวัฒนธรรมของคนไทยตลอดมา  นอกจากนี้  คนไทยยังได้รับอิทธิพลในการนับถือศาสนาอิสลามที่พ่อค้าชาวมุสลิมนำมาเผยแผ่  รวมทั้งคริสต์ศาสนาที่คณะมิชชันนารีนำเข้ามาเผยแผ่ในเมืองไทยนับตั้งแต่สมัย อยุธยาเป็นต้นมา
                    4.  ด้านวรรณกรรม  ในสมัยอยุธยาได้รับวรรณกรรมเรื่องรามเกรียรติ์  มาจากเรื่องรามายณะของอินเดีย  เรื่องอิเหนาจากชวา  ในสมัยรัตนโกสินทร์ได้มีการแปลวรรณกรรมจีน  เช่น  สามก๊ก  ไซอิ๋ว  วรรณกรรมของชาติอื่น ๆ เช่น  ราชาธิราชของชาวมอญ  อาหรับราตรีของเปอร์เซีย  เป็นต้น
                    5.  ด้านศิลปวิทยาการ  เช่น    เชื่อกันว่าชาวสุโขทัยได้รับวิธีการทำเครื่องสังคโลกมาจากช่างชาวจีน  รวมทั้งรูปแบบสถาปัตยกรรมเนื่องในพระพุทธศาสนาจากอินเดีย  ศรีลังกา
                    6.  ด้วยวิถีการดำเนินชีวิต  เช่น   คนไทยสมัยก่อนนิยมกินหมากพลู  รับวิธีการปรุงอาหารที่ใส่เครื่องแกง  เครื่องเทศจากอินเดีย  รับวิธีการปรุงอาหารแบบผัด  การใช้กะทะ  การใช้น้ำมันจากจีน  ในด้านการแต่งกาย  คนไทยสมัยก่อนนุ่งโจงกระเบนแบบชาวอินเดีย  เป็นต้น
          2.  วัฒนธรรมตะวันตกที่มีอิทธิพลต่อสังคมไทย
          ไทยได้รับวัฒนธรรมตะวันตกหลายด้านมาตั้งแต่สมัยอยุธยา  ในระยะแรกเป็นความก้าวหน้าด้านการทหาร  สถาปัตยกรรม  ศิลปวิทยาการ  ในสมัยรัตนโกสินทร์ตั้งแต่รัชกาลที่ 3  เป็นต้นมา  คนไทยรับวัฒนธรรมตะวันตกมากขึ้น  ทำให้มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงวิถีของคนไทยมาจนถึงปัจจุบัน
          ดัวอย่างวัฒนธรรมตะวันตกที่มีอิทธิพลต่อสังคมไทยที่สำคัญมีดังนี้
                    1.  ด้านการทหาร  เป็นวัฒนธรรมตะวันตกแรก ๆ ที่คนไทยรับมาตั้งแต่อยุธยา  โดยซื้ออาวุธปืนมาใช้  มีการสร้างป้อมปราการตามแบบตะวันตก  เช่น  ป้อมวิไชยประสิทธิ์ที่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา  ออกแบบโดยวิศวกรชาวฝรั่งเศส  ในสมัยรัตนโกสินทร์มีการจ้างชาวอังกฤษเข้ามารับราชการเพื่อทำหน้าที่ให้คำ ปรึกษาด้านการทหาร  มีการตั้งโรงเรียนนายร้อย  การฝึกหัดทหารแบบตะวันตก
                    2.  ด้ารการศึกษา  ในสมัยรัชกาลที่ 3  มีชนชั้นนำจำนวนหนึ่ง  เช่น  พระอนุชาและขุนนางได้เรียนภาษาอังกฤษและวิทยาการตะวันตก  ในสมัยรัชกาลที่ 4  ทรงจ้างครูต่างชาติมาสอนภาษาอังกฤษและความรู้แบบตะวันตกในราชสำนัก
                    ในสมัยรัชการลที่ 5  มีการตั้งโรงเรียนแผนใหม่  ตั้งกระทรวงธรรมการขึ้นมาจัดการศึกษาแบบใหม่  ทรงส่งพระราชโอรสและนักเรียนไทยไปศึกษาที่ประเทศต่าง ๆ เช่น  โรงเรียนแพทย์  โรงเรียนกฎหมาย  ในสมัยรัชกาลที่ 6  มีพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับและการตั้งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
                    3.  ด้านวิทยาการ  เช่น  ความรู้ทางด้านดาราศาสตร์  พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงใช้ความรู้ทางดาราศาสตร์จนสามารถ คำนวณการเกิดสุริยุปราคาได้อย่างถูกต้อง  ความรู้ทางการแพทย์สมัยใหม่  ซึ่งเริ่มในสม้ยรัชกาลที่ 3  ในสมัยรัชกาลที่ 5  มีการจัดตั้งโรงพยาบาล  โรงเรียนฝึกหัดแพทย์และพยาบาล  ความรู้ทางการแพทย์แบบตะวันตกนี้ได้เป็นพื้นฐานทางการแพทย์และสาธารณสุขไทย ในปัจจุบัน
                    ด้านการพิมพ์  เริ่มจากการพิมพ์หนังสือพิมพ์รายปักษ์ภาษาไทยขึ้นเป็นครั้งแรกใน พ.ศ. 2387  ชื่อ  "บางกอกรีคอร์เดอร์"  การพิมพ์หนังสือทำให้ความรู้ต่าง ๆ แพร่หลายมากขึ้น  ในด้านการสื่อสารคมนาคม  เช่น  การสร้างถนน  สะพาน  โทรทัศน์  โทรศัพท์  กล้องถ่ายรูป  รถยนต์  รถไฟฟ้า  เครื่องคอมพิวเตอร์  เป็นต้น  ซึ่งช่วยอำนวยความสะดวกสบายให้แก่คนไทยเป็นอย่างมาก
                    4.  ด้านแนวคิดแบบตะวันตก  การศึกษาแบบตะวันตกทำให้แนวคิดทางการปกครอง  เช่น  ประชาธิปไตย  คอมมิวนิสต์  สาธารณรัฐแพร่เข้ามาในไทย  และมีความต้องการให้มีการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง  นอกจากนี้  วรรณกรรมตะวันตกจำนวนมากก็ได้มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนรูปแบบการประพันธ์ จากร้อยกรองเป็นร้อยแก้ว  และการสร้างแนวคิดใหม่ ๆ ในสังคมไทย  เช่น  การเข้าใจวรรณกรรมรูปแบบนวนิยาย  เช่น  งานเขียนของดอกไม้สด  ศรีบูรพา
                    5.  ด้านวิถีการดำเนินชีวิต  การรับวัฒนธรรมตะวันตกและสิ่งประดิษฐ์ต่าง ๆ มาใช้  ทำให้วิถีการดำเนินชีวิตของคนไทยแบบเดิมเปลี่ยนแปลงไป  เช่น  การใช้ช้อนส้อมรับประทานอาหารแทนการใช้มือ  การนั่งเก้าอี้แทนการนั่งพื้น  การใช้เครื่องแต่งกายแบบตะวันตกหรือปรับจากตะวันตก  การปลูกสร้างพระราชวัง  อาคารบ้านเรือนแบบตะวันตก  ตลอดจนนำกีฬาของชาวตะวันตก  เช่น  ฟุตบอล  กอล์ฟ  เข้ามาเผยแพร่  เป็นต้น

 

 อิทธิพลของวัฒนธรรมต่างชาติที่มีต่อสังคมไทย
อิทธิพลของวัฒนธรรมต่างชาติที่มีต่อสังคมไทย

       วัฒนธรรมเป็นสิ่งที่ไม่มั่นคงที่หรือใช้เฉพาะในสังคมหนึ่งเท่านั้น  ในปัจจุบันมีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี
และการขนส่งคมนาคม  ทำให้การเผยแพร่่วัฒนธรรมกระทำได้รวดเร็วยิ่งขึ้นกระบวนการนี้เรียกว่า  การเผยแพร่
วัฒนธรรมกระทำได้รวดเร็วยิ่งขึ้นกระบวนการนี้เรียกว่า การเผยแพร่หรือการกระจายทางวัฒนธรรม
(Cultural Diffusion)
       หลังการปฏิวััติอุตสาหกรรมในยุโรป  ทำให้ชนชาติเหล่านั้นแข่งขันกันแสวงหาอาณานิคมในทวีปเอเชีย
ด้วยแล้ว  สังคมไทยก็ตกเป็นเป้าหมายของกลุ่มชาวยุโรป  โดยเฉพาะอังกฤษ ฝรั่งเศส และอิทธิพลของวัฒนธรรม ตะวันตกก็ยังคงต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ด้วยสาเหตุต่อไปนี้

      1. ความเจริญทางด้านการคมนาคมขนส่ง ทำให้การเดินทางสะดวก การเผยแพร่วัฒนธรรมจะเร็วขึ้น

การเจริญทางด้านการคมนาคมขนส่ง
      2. อิทธิพลจากสื่อมวลชนต่าง ๆ เช่น  ภาพยนตร์ โทรทัศน์ หนังสือ และสิ่งตีพิมพ์อื่น ๆ
      3. การเผยแพร่วัฒนธรรมโดยตรง คือ ประเทศต่าง ๆ ส่งคนเข้่ามาเผยแพร่ หรือจากการออกไปศึกษา
เล่าเรียน  เมื่อกลับมาแล้วก็นำวัฒนธรรมนั้นมาเผยแพร่


       อิทธิพลของวัฒนธรรมต่างชาติในสังคม แยกเป็นด้านต่าง ๆ นี้
       1. ทางการศึกษา วัฒนธรรมขอมอินเดีย  เข้ามามีอิทธิพลในสมัยสุโขทัยและกรุงศรีอยุธยา
            - ภาษาตะวันตก เริ่มเข้าสมัยรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์  เมื่อร้อยเอกเจมส์ โลว์ ชาวอังกฤษคิดตัวพิมพ์ภาษาไทยได้สำเร็จ
            - รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีการปฎิรูปการศึกษาและสังคม  มีการตั้งกระทรวงธรรมการ เริ่มมีการจัดการศึกษาแบบตะวันตกตั้งแต่นั้นมา
           - ปัจจุบันระบบการศึกษาของไทยยึดหลักแนวทางจากประเทศสหรัฐอเมริกา ทั้งด้านปรัชญาการศึกษา เนื้อหา และกระบวนการเรียนการสอน  ส่วนวิทยาการสมัยใหม่  ในวงการศึกษาของไทยรับมาจาก ตะวันตกเป็นส่วนใหญ่

       2. ทางการเมือง
           - สมัยสุโขทัยการปกครองเป็นแบบพ่อปกครองลูก
           - สมัยกรุงศรีอยุธยา รับอิทธิพลจากขอมและอินเดีย เป็นแบบลัทธิเทวราช กษัตริย์ เป็นสมมติเทพ (ข้ากับเจ้า บ่าวกับนาย)
           - สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ในสมัยรัชกาลที่ 5 เริ่มมีสภาที่ปรึกษา  นับเป็นการเริ่มเข้าสู่ระบอบประชาธิปไตย  จนกระทั่งปีพ.ศ. 2475 จึงเป็นประชาธิปไตยโดยแท้จริง ซึ่งได้รับอิทธิพลจากประเทศในยุโรป
       3. ทางเศรษฐกิจ ระบบเศรษฐกิจเป็นแบบเสรีนิยม หรือทุนนิยม ได้รับอิทธิพลจากตะวันตกมากที่สุด
       4. ทางสังคมและวัฒนธรรม อิทธิพลจากต่างชาติทำให้วิถีชีวิตคนไทยเปลี่ยนแปลงไป  ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เห็นอกเห็นใจมีความอบอุ่นน้อยลง  มีการชิงดีชิงเด่น  ความสัมพันธ์เปลี่ยนเป็นแบบทุติยภูมิ

         วัฒนธรรมอินเดียที่มีอธิพลต่อวัฒนธรรมไทย
1. การเมืองการปกครอง กษัตริย์เป็นเทวราชตามศาสนาพราหมณ์   เกิดระบบเจ้าขุนมูลนาย  ส่วนประมวล
กฎหมายพระมนูธรรมศาสตร์ของอินเดียนั้น  เป็นที่มาของกฎหมายตราสามดวงในประเทศไทยและกฎมณเฑียรบาล
         2. ศาสนา ศาสนาพราหมณ์และพระพุทธศาสนาทำให้เกิดประเพณีต่าง ๆ มากมาย เช่น พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ โกนจุก หลักทศพิธราชธรรม
         3. ภาษาและวรรณกรรม รับภาษาบาลีและสันสกฤต เพื่อให้เกิดความเจริญงอกงามทางภาษา แต่ไม่ได้ใช้พูด ไม่มีอิทธิพลเหมือนภาษาตะวันตก  วรรณกรรมคือมหากาพย์รามายณะ  มหาภารตยุทธ และพระไตรปิฎก
         4. ศิลปกรรม ส่วนใหญ่เกี่ยวกับศาสนา ได้แก่ การสร้างสถูป เจดีย์ วิหาร พระพุทธรูป จิตรกรรมฝาผนัง  ท่าร่ายรำต่าง ๆ

         วัฒนธรรมจีนที่มีอธิพลต่อวัฒนธรรมไทย 
 จีน เข้ามาสมัยกรุงสุโขทัยและกรุงศรีอยุธยาโดยเข้ามาค้าขาย ในสมัยกรุงธนบุรีและกรุงรัตนโกสินทร์เข้ามาทำมาหากิน ทำให้เกิดการผสมผสานวัฒนธรรมไทยกับจีน  จนกลายเป็นวัฒนธรรมไทย  อิทธิพลวัฒนธรรมจีนต่อวัฒนธรรมไทยได้แก่
         1. ความเชื่อทางศาสนา เป็นการผสมผสาน การบูชาบรรพบุรุษ การนับถือเจ้า ส่วนการไหว้พระจันทร์ เทศกาลกินเจ ชาวไทยเชื้อสายจีนรุ่นใหม่ยอมรับวัฒนธรรมเดิมของจีนน้อยลงทุกที
         2. ด้านศิลปกรรม เครื่องชามสังคโลกเข้ามาในสมัยสุโขทัย
         3. ด้านวรรณกรรม การแปลวรรณกรรมจีนเป็นภาษาไทย  เริ่มขึ้นในสมัยรัชกาลที่1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ได้แก่ สามก๊ก
อำนวยการแปลโดย เจ้าพระยาคลัง (หน) กลายเป็นเพชรน้ำงามแห่งวรรณคดีไทย
         4. วัฒนธรรมอื่น ๆ มี อาหารจีน และ "ขนมจันอับ" ที่กลายเป็นขนมที่มีบทบาทในวัฒนธรรมไทย ใช้ในพิธี ก๋วยเตี๋ยวก็กลายมาเป็นอาหารหลักของไทย  นอกจากนี้ยังมีข้าวต้มกุ๊ย ผัดซีอิ๊ว และซาลาเปา เป็นต้น

         วัฒนธรรมชาตินิยมตะวันตกที่มีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมไทย
         โปรตุเกส เป็นชาติตะวันตกชาติแรกที่เข้ามาในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 นำวัฒนธรรมการทำปืนไฟ การสร้างป้อมต่อต้านปืนไฟ ยุทธวิธีทางการทหาร การทำขี้ผึ้งรักษาแผล การทำขนมฝอยทอง ขนมฝรั่ง  เป็นทหารอาสาสมัยพระชัยราชาธิราช รบกับพม่า 120 คน
        ฮอลันดาเข้า มาสมัยในสมัยพระนเรศรวรมหาราช อาคารที่ฮอลันดาสร้าง ไทยเรียกว่า "ตึกวิลันดา" นำอาวุธปืนมาขาย รวมทั้งเครื่องแก้ว กล้องยาสูบ เครื่องเพชรเครื่องพลอย ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชก็ทรงพอพระทัยแว่นตา และกล้องส่องทางไกลจากฮอลันดา
        อังกฤษ เข้ามา ในราชสำนักสมัยพระเอกาทศรถ มุ่งทางด้านการค้า แต่สู้ฮอลันดาไม่ได้ เช่น ยอร์ช ไวท์ มีต่ำแหน่งเป็นออกหลวงวิชิตสาคร ส่วน แซมมวล ไวท์ ได้เป็นนายท่าเมืองมะริด
       ฝรั่งเศส เข้ามาสมัยพระนารายณ์มหาราช เพื่อเผยแผ่ศาสนาคริสต์ คณะบาทหลวงได้นำความรู้ด้านการแพทย์ การศึกษา การทหาร ดาราศาสตร์ การวางท่อประปา การสร้างหอดูดาวที่ลพบุรีและอื่น ๆ อีกหลายแห่ง
       ในสมัยอยุธยาตอนปลายความสัมพันธ์กับชาติตะวันตกลดลงและหยุดชะงักไปใน สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงปรับปรุงประเทศตามแบบตะวันตกโดยมีการเปิดสัมพันธ์ทางการทูต เพราะตะหนักถึงภยันตรายที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เป็นการป้องกันการแทรกแซงภายใน วัฒนธรรมตะวันตกจึงเริ่มผสมผสานจนเป็นที่ยอมรับและเข้ามามีบทบาทในด้านต่าง ๆ ดังนี้
        1. การเมืองการปกครอง รับเอาประเพณี ค่านิยม วัฒนธรรม เข้ามาในประเทศ เพราะมีพระบรมวงศานุวงศ์ไปเรียนต่างประเทศ มีการปฎิรูปการปกครองแบบชาติตะวันตก ตั้งกระทรวง 12 กระทรวง
        2. เศรษฐกิจ ยกเลิกระบบไพร่ เลิกทาส ใช้เงินตราเป็นตัวกลางในการซื้อขาย ตั้งธนาคารแห่งแรก คือ  บุคคลัภย์ (Book Club) ต่อมาคือธนาคารไทยพาณิชย์
       3. ด้านสังคม เลิก ระบบหมอบคลานมาเป็นแสดงความเคารพให้นั่งเก้าอี้แทน เปลี่ยนแปลงการแต่งกาย จัดการศึกษาเป็นระบบโรงเรียน ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 6 ได้ออกพระราชบัญญัติประถมศึกษา พ.ศ. 2464
การศึกษาขยายถึงระดับมหาวิทยาลัย มีพระราชบัญญัตินามสกุล และคำนำหน้าชื่อ นาย นาง นางสาว เด็กหญิง   เด็กชาย
        สรุปได้ว่า คนไทยมีวัฒนธรรมที่เป็นของตนเองมาตั้งแต่สุโขทัย ซึ่งแสดงออกถึงความเป็นชาติที่มีความรัก ความสามัคคีและสงบสุข อย่างไรก็ตาม วัฒนธรรมไทยก็เหมือนวัฒนธรรมของชนชาติอื่นที่เป็นวัฒนธรรม
แบบผสมผสาน คือ
       1. มีวัฒนธรรมดังเดิมเป็นของตนเอง
       2. รับเอาวัฒนธรรมอื่นจากภายนอกที่ได้ติดต่อสัมพันธ์กัน มาผสมผสานให้เกิดประโยชน์ต่อส่วนรวม
       
         วัฒนธรรม เป็นสิ่งที่อยู่คู่กับสังคม มนุษย์เป็นผู้สร้างวัฒนธรรมขึ้นเพื่อสนองความต้องการ  ทางด้านปัจจัยสี่  ในการดำเนินชีวิตเพื่อความอยู่รอดและเป็นวิธีการแห่งการแก้ปัญหาพื้นฐาน ต่างๆของมนุษย์  ที่ทุกคนในสังคมต้องการแก้ไขเพื่อให้มีชีวิตอยู่รอด  วัฒนธรรมจึงกลายเป็นกฏเกณฑ์  ข้อบังคับ  หรือระเบียบ  ในการดำเนินชีวิตของมนุษย์และเป็นมรดกสืบทอดกันมาจากบรรพบุรุษหนึ่งสู่อีก บรรพบุรุษหนึ่ง นอกจากนี้วัฒนธรรมมีลักษณะไม่อยู่นิ่ง  ไม่คงที่  มีการเปลี่ยนแปลง  ปรับปรุง  เลิกร้าง  สร้างสรรค์ขึ้นใหม่  เพราะมนุษย์มีการคิดค้นสิ่งใหม่ๆและปรับปรุงของเดิมให้เหมาะกับสถานการณ์ที่ เปลี่ยนแปลงไป
         วัฒนธรรมไทยมีรากฐานมาจากพุทธศาสนา  เป็นมรดกอันล้ำค่าของคนไทยทุกคนที่สะท้อนให้เห็นวิถีชีวิตของคนไทย  ถือเป็นเอกลักษณ์ที่แสดงถึงความเป็นชาติไทยที่แตกต่างจากชาติอื่น  มีลักษณะเฉพาะที่แสดงชี้ชัดถึงความเป็นไทย  เช่น  ภาษา  ขนบธรรมเนียมประเพณีที่แสดงออกมาทางพิธีกรรม  ศิลปะแขนงต่างๆ  บุคลิกภาพของคนไทยที่รักสงบ  อ่อนน้อมถ่อมตน  มีน้ำใจ  จนได้รับความชื่นชมจากต่างชาติ  ถึงแม้วัฒนธรรมไทยจะมีการผสมผสานกับวัฒนธรรมต่างชาติตั้งแต่อดีตจนถึง ปัจจุบัน   แต่ก็ได้เลือกสรรเอาสิ่งที่ดีมาใช้ให้เข้ากับวัฒนธรรมไทย  ก่อให้เกิดความภาคภูมิใจในความเป็นชาติที่มีพระมหากษัตริย์  ศาสนา  ศิลปกรรม  ภาษา  อาหาร  การแต่งกาย ฯลฯ ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว

การสร้างสรรค์วัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย

 การสร้างสรรค์วัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย
          วัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทยเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจากการสร้างสรรค์ของคนไทย  โดยมีพื้นฐานจากปัจจัยแวดล้อมต่าง ๆ และอิทธิพลจากภายนอก  วัฒนธรรมนอกบางอย่างที่ไทยรับมานั้นได้ถูกนำมาดัดแปลงให้เข้ากับสภาพสังคม ไทย  จนกลายเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของไทย  อย่างไรก็ดี  แม้ว่าวัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทยจะช่วยให้เราเห็นคุณค่าของวัฒนธรรมและ ภูมิปัญญาไทยและช่วยกันอนุรักษ์และสืบทอดต่อไปในภายหน้า

          1.  ความหมายของวัฒนธรรมและภูมิปํญญาไทยและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง
                    1.1  ความหมายของวัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย
                    วัฒนธรรมไทย  หมายถึง  การประพฤติปฏิบัติที่เป็นแบบแผนของสังคม  ซึ่งเกิดจากการสร้างสรรค์ของคนไทยที่คิดขึ้นเพื่อการดำเนินชีวิตอยู่ร่วมกัน ในสังคม  โดยมีปฏิสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อม  และมีรูปแบบเป็นที่ยอมรับกันภายในสังคม  วัฒนธรรมไทยมีการเคลื่อนไหวและเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา  อันเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงทางสังคม  วัฒนธรรม  เศรษฐกิจ  และการเมืองในสังคมไทย
                    ภูมิปัญญาไทย  หมายถึง  ความรู้  ความสามารถ  ทักษะ  ความเชื่อ  และพฤติกรรมของคนไทยที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างคนกับคน  คนกับสิ่งแวดล้อม  และคนกับสิ่งเหนือธรรมชาติ  ภูมิปัญญาไทยถือเป็นวิธีการและผลงานที่คนไทยได้ศึกษาเรียนรู้เพื่อความอยู่ รอดของบุคคล  ชุมชน  เพื่อแก้ไขปัญหาในสังคมไทย  เป็นความรู้ที่ผ่านการรวบรวม  ปรับปรุง  และได้ถ่ายทอดจากคนรุ่นหนึ่งสู่คนอีกรุ่นหนึ่ง  ภูมิปัญญาไทยจึงเป็นสิงที่มีประโยชน์  มีคุณค่า  มีเอกลักษณ์ของตนเอง  สอดคล้องกับสิ่งแวดล้อมและวิถีชีวิตของคนไทยและนำมาใช้ในการพัฒนาชีวิตและ แก้ไขปัญหาได้  เช่น  ความรู้เกี่ยวกับพืชพันธุ์ธัญญาหาร  สมุนไพร  ผักพื้นบ้าน  รู้จักประดิษฐ์เครื่องมือทำมาหากิน  และการสร้างที่อยู่อาศัยที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม  เป็นต้น
                   
1.2  ปัจจัยที่ส่งเสริมการสร้างสรรค์วัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทยที่มีผลต่อสังคมไทยปัจจุบัน
                    ปัจจัยที่มีผลต่อการสร้างสรรค์วัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทยที่สำคัญมีดังนี้
                    1)  ปัจจัยทางภูมิศาสตร์  ประเทศไทยมีสภาพภูมิศาสตร์ที่แตกต่างกันไปในแต่ละภูมิภาคและคนในแต่ละ พื้นที่ก็ได้สร้างสรรค์วัฒนธรรมและภูมิปัญญาให้สอดคล้องกับท้องถิ่นที่ตน อยู่
                  

          2)  ปัจจัยทางสังคม  สามารถแบ่งออกเป็น 2 ด้าน  ดังนี้
                              2.1)  ลักษณะร่วมทางสังคมและวัฒนธรรม  ได้แก่  การที่สังคมไทยเป็นสังคมเกษตรกรรม  ทำให้คนในสังคมมีวิถีชีวิตความเชื่อบางอย่างเหมือนกัน  เช่น  ความเชื่อเรื่องการนับถือผู้อาวุโส  จึงทำให้เกิดพิธีการรดน้ำขอพร  ความเชื่อเรื่องเทวดาอารักษ์  เช่น  แม่พระคงคา  แม่พระธรณี  แม่โพสพ  รุกขเทวดา  ความเชื่อเรื่องผีสางนางไม้  ผีบ้านผีเรือน  ทำให้มีประเพณีที่เกี่ยวเนื่องกับอาชีพและความเชื่อ  เช่น  การทำขวัญข้าว  การเล่นเพลงเรือ  ประเพณีลอยกระทง
นอกจากนี้  คนไทยส่วนใหญ่นับถือพระพุทธศาสนาทำให้มีประมีประเพณีทางศาสนาเหมือนกัน  แต่อาจมีรายละเอียดแตกต่างกันในแต่ละท้องถิ่น  เช่น  ประเพณีทำบุญในหลายพื้นที่ที่มีความเป็นเอกลักษณ์ของตน  เช่น  ประเพณีแห่ปราสาทผึ้งและประเพณีไหลเรือไฟของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  ประเพณีชักพระของภาคใต้  เป็นต้น
                              2.2)  ลักษณะแตกต่างทางสังคมและวัฒนธรรม  สภาพภูมิศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติที่ต่างกัน  รวมถึงความเคยชินและการปฏิบัติที่สืบทอดต่อ ๆ กันมา  มีผลต่อความแตกต่างในด้านการดำรงชีวิต  การสร้างสรรค์วัฒนธรรมและภูมิปัญญา  เช่น  ภาคกลางและภาคใต้ปลูกข้าวเจ้ามาก  ทำให้คนทั้งสองภาคนิยมรับประทานข้าวเจ้า  ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือปลูกข้าวเหนียวมาก  คนทั้งสองภาคนี้จึงนิยมรับประทานข้าวเหนียว  และคิดสร้างสรรค์ภาชนะใส่ข้าวเหนียวจากวัสดุธรรมชาติ  เรียกว่า  "กระติบ"  ซึ่งช่วยเก็บกักความร้อนและทำให้ข้าวเหนียวนุ่มอยู่ได้นาน  หรือภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีหนองบึงมาก  แต่แหล่งน้ำมักแห้งขอดในฤดูแล้ง  ชาวบ้านจึงเรียนรู้ที่จะเก็บสะสมอาหารไว้กินตลอดทั้งปี  โดยนำปลานานาชนิดมาทำเป็นปลาร้า  ส่วนภาคใต้มีอาหารทะเลมากจึงถนอมอาหารด้วยวิธีต่าง ๆ เช่น  ตากแห้ง  ปลาแดดเดียว  ปลาเค็ม  หรือนำเคยซึ่งเป็นสัตว์ทะเลชนิดหนึ่งมาทำกะปิ
                              นอกจากนี้  การปลูกบ้านเรือนของผู้คนในแต่ละภาคก็มีความแตกต่างกันตามทรัพยากรธรรมชาติ  เช่น  ภาคเหนือมีไม้มาก  บ้านเรือนจึงปลูกสร้างด้วยไม้  หรือภาคตะวันออกเฉียงเหนือใช้ไม้ไผ่เป็นส่วนสำคัญในการปลูกบ้าน  ดังนั้น  จะเห็นได้ว่าความแตกต่างกันทางภูมิศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติ  ทำให้แต่ละพื้นที่มีการดำรงชีวิตต่างกัน

20120925

ความหมายของการถ่ายทอดวัฒนธรรม

ความหมายของการถ่ายทอดวัฒนธรรม
เมื่อวัฒนธรรมคือระบบสัญลักษณ์ที่มนุษย์สร้าง
ขึ้นมา และมิใช่ระบบที่เกิดขึ้นโดยสัญชาตญาณ
ก็หมายความว่า วัฒนธรรมคือสิ่งที่มนุษย์จะต้อง
เรียนรู้และจะต้องมีการถ่ายทอดวัฒนธรรม การ
ถ่ายทอดวัฒนธรรมที่เห็นได้ชัดที่สุดคือการที่พ่อแม่
สอนลูกว่า ผู้น้อยไม่ควรยืนค้ำศีรษะผู้ใหญ่ การ
สอนในลักษณะนี้ นอกจากจะเป็นการสอนถึง
พฤติกรรมแล้วยังเป็นการถ่ายทอดระบบสัญลักษณ์


ด้วย นอกจากนี้การที่พ่อแม่สอนให้ลูกทำอาหารไทยให้รู้จักตำน้ำพริก ทำแกงเผ็ด ก็เป็นการถ่ายทอด
วัฒนธรรมเหมือนกัน การถ่ายทอดวัฒนธรรม ก็คือการสอนให้คนรุ่นหลังรู้ถึงระบบสัญลักษณ์ของสังคม
ซึ่งทำได้โดย มีการตกลงกันไว้ว่า ประกอบด้วยอะไรบ้าง
เนื่องจากวัฒนธรรม คือระบบสัญลักษณ์ ซึ่งสมาชิกของสังคมตกลงกันว่าจะใช้ร่วมกัน มนุษย์ที่อยู่
คนละสังคมย่อมจะมีวัฒนธรรมที่ต่างกัน เพราะเมื่อต่างกลุ่มต่างตกลงกันเอง ข้อตกลงของกลุ่มก็ย่อม
ไม่เหมือนกัน วัฒนธรรมของสังคมจึงไม่เหมือนกัน อาจมีบางส่วนที่คล้ายกันและบางส่วนที่เหมือนกัน แต่
เมื่อรวมเป็นระบบสัญลักษณ์แล้วจะพบว่า สังคมที่ต่างกันจะมีวัฒนธรรมที่ต่างกัน


 

ความหลากหลายของวัฒนธรรม




วัฒนธรรมของชนต่างหมู่ต่างเหล่า มีความหลากหลายต่างกันไปด้วยเหตุนานาประการที่สำคัญๆ มีดังต่อไปนี้

1. ภูมิอากาศ ภูมิอากาศที่แตกต่างกันมีอิทธิพลต่อความเป็นอยู่ของมนุษย์ เช่น วัฒนธรรมของชาวเอสกิโมมีมูลเหตุมาจากความยากแค้นในการหาอาหาร มีเวลาที่ดวงอาทิตย์อยู่เหนือขอบฟ้าเพียง 6 เดือนในปีหนึ่งๆ ทุกคนในครอบครัวต้องหาอาหารเพื่อความอยู่รอดของตน จึงปรากฏว่า สมาชิกในครอบครัวไม่ค่อยมีโอกาสได้อยู่ร่วมกัน วัฒนธรรมของชนชาติในเขตมรสุม ซึ่งมีอาหารอุดมสมบูรณ์ การออกหาอาหารมักเป็นภาระของสมาชิกคนใดคนหนึ่งของครอบครัวเท่านั้น

2. ที่ตั้ง มนุษย์อาศัยอยู่ตามที่ตั้งต่างๆกันไป อาจเป็นบนภูเขาหรือในที่ราบลุ่มประเพณีต่างๆ จะเกิดขึ้นเพื่อให้ชีวิตของหมู่ชนปรับเข้ากับที่ตั้งนั้นได้ เช่น กลุ่มชนที่อยู่ในเขตร้อนมีประเพณีสงกรานต์ กลุ่มชนที่อยู่ในเขตหนาวมีประเพณีการเล่นรอบกองไฟ ชนที่อยู่ริมน้ำมีประเพณีแข่งเรือ

3. ความอุดมสมบูรณ์หรือความแร้นแค้น มนุษย์จะมีลักษณะนิสัยค่านิยม ตลอดจนแบบแผนในการดำเนินชีวิตแตกต่างกันไป ตามสภาพความอุดมสมบูรณ์ หรือความแร้นแค้น เช่น ชนที่อยู่ในที่อุดมสมบูรณ์มักจะมีความอารีเผื่อแผ่ ความสบายทำให้ไม่คิดวางแผนไปถึงกาลข้างหน้า มีชีวิตอย่างง่ายๆ ไม่วิตกกังวล กลุ่มชนที่แร้นแค้นก็จะหวงแหหนสมบัติทุกอย่างที่หามาได้ด้วยความยากลำบาก และอาจมีอุปนิสัยไปในทางยักยอกฉ้อฉล ค่านิยมของคนในวัฒนธรรมหนึ่งๆ เกิดจากเหตุธรรมชาติอยู่มิใช่น้อย

4. กลุ่มชนแวดล้อม กลุ่มชนแวดล้อมมีผลกระทบต่อวัฒนธรรมของกลุ่มชนที่อยู่ใกล้เคียง เช่น กลุ่มชนที่บังเอิญไปตั้งถิ่นฐานอยู่ในระหว่างชนกลุ่มน้อย ซึ่งมักรบกวนกลุ่มชนที่อยู่ใกล้ๆ ก็ต้องปราบให้ราบคาบจึงจะอยู่เป็นสุขได้ ทำให้เกิดค่านิยมไปในทางที่จะแสดงอำนาจ

5. นักปราชญ์หรือประมุขของกลุ่มชน เหตุประการสุดท้ายที่จะกล่าวถึงนี้ไม่มีผู้ใดแน่ใจว่า เป็นเหตุบังเอิญหรือเป็นเพราะสถาบันและค่านิยมในวัฒนธรรมนั้นเองเป็นต้นเหตุ ทำให้ปราชญ์จำนวนมากมีความคิดเผยแพร่ความรู้ และบางหมู่ก็เกิดประมุขที่ดี เมื่อเกิดวิกฤตการณ์อย่างใดอย่างหนึ่งขึ้น ก็สามารถป้องกันศัตรูและสร้างสรรค์ความเจริญให้แก่ใหม่ของตน