20120925

ความหมายของวัฒนธรรม

   
ความหมายของวัฒนธรรม

img6.gif
           วัฒนธรรม หมายรวมถึง ทุกสิ่ง ทุกอย่างที่มนุษย์สร้างขึ้นมา นับตั้งแต่ภาษา ขนบธรรมเนียมประเพณี ศาสนา  กฎหมาย  ศิลปะ จริยธรรม ตลอดจนวิทยาการและเทคโนโลยีต่าง ๆ อาจกล่าวได้ว่าวัฒนธรรมเป็นเครื่องมือที่มนุษย์ คิดค้นขึ้นมาเพื่อช่วยให้มนุษย์สามารถดำรงอยู่ต่อไปได้ เพราะการจะมีชีวิตอยู่ในโลกนี้ได้มนุษย์จะต้องรู้จักใช้ประโยชน์จากธรรมชาติและจะต้องรู้จักควบคุมความประพฤติของมนุษย์ด้วยกัน วัฒนธรรม คือคำตอบที่มนุษย์ในสังคมคิดขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาเหล่านี้
เนื้อหาของวัฒนธรรม
         1.  วัฒนธรรมเป็นพฤติกรรมที่เกิดจากการเรียนรู้
         2.  วัฒนธรรมมีลักษณะเป็นสิ่งเหนืออินทรีย์ (superorganic)
         3.  วัฒนธรรมเป็นมรดกทางสังคม
         4. วัฒนธรรมเป็นแบบแผนของการดำเนินชีวิต
  
องค์ประกอบของวัฒนธรรม

        วัฒนธรรมเป็นผลจากการที่มนุษย์ได้เข้าควบคุมธรรมชาติและพฤติกรรมของมนุษย์ ทำให้เกิดการจัดระเบียบทางสังคม  ระบบความเชื่อ ศิลปกรรม
ค่านิยมและวิทยาการต่าง ๆ อาจแยก องค์ประกอบของวัฒนธรรมได้เป็น 4 ประการ
        1.  องค์มติ (concept)  บรรดาความคิด ความเชื่อ ความเข้าใจ ความคิดเห็น ตลอดจนอุดมการต่าง ๆ
        2.  องค์พิธีการ (usage) หมายถึง ขนบธรรมเนียมประเพณีที่แสดงออกในรูปพิธีกรรม

        3.  องค์การ (organization) หมายถึง กลุ่มที่มีการจัดอย่างเป็นระเบียบหรือมีโครงสร้างอย่างเป็นทางการ มีการวางกฎเกณฑ์ระเบียบข้อบังคับและวัตถุประสงค์ไว้อย่างแน่นอน
       4.  องค์วัตถุ (instrumental and symbolic objects) ได้แก่ วัฒนธรรมทาง วัตถุทั้งหลาย เช่น บ้าน โบสถ์ วิหาร รวมตลอดถึงเครื่องมือเครื่องใช้ต่าง ๆ

ความสำคัญของวัฒนธรรม

         1.  วัฒนธรรมเป็นเครื่องกำหนดความเจริญหรือความเสื่อมของสังคม และเป็นเครื่องกำหนดชีวิตความเป็นอยู่ของคนในสังคม
        2. การศึกษาวัฒนธรรมจะทำให้เข้าใจชีวิตความเป็นอยู่ ค่านิยมของสังคม เจตคติความคิดเห็นและความเชื่อถือของบุคคลได้อย่างถูกต้อง
        3.  ทำให้มีความรู้สึกเป็นพวกเดียวกันและให้ความร่วมมือกันได้
        4.  ทำให้เกิดความสงบเรียบร้อยในสังคม เพราะวัฒนธรรมคือกรอบหรือแบบแผนของ การดำรงชีวิต
        5.  ทำให้มีพฤติกรรมเป็นแบบเดียวกัน
        6.  ทำให้เข้ากับคนพวกอื่นในสังคมเดียวกันได้
        7.  ทำให้มนุษย์มีสภาวะที่แตกต่างจากสัตว์

ประเภทของวัฒนธรรม

         1. วัฒนธรรมทางวัตถุ (material culture) หมายถึง สิ่งของหรือวัตถุอันเกิดจากความคิดและการประดิษฐ์ขึ้นมาของมนุษย์
         2.  วัฒนธรรมที่ไม่ใช่วัตถุ (non-material culture) หมายถึง วัฒนธรรมที่แสดงออกได้โดยทัศนะ ประเพณี ขนบธรรมเนียม การปฏิบัติสืบต่อกันมาและเป็นที่ยอมรับในกลุ่มของตน ว่าดีงามเหมาะสม

    img5.gif
วัฒนธรรมไทย

ความหมายของวัฒนธรรม
        วัฒนธรรม หมายความถึง ลักษณะที่แสดงถึงความเจริญงอกงาม ความเป็นระเบียบ
เรียบร้อย ความกลมเกลียวก้าวหน้าของชาติ และศีลธรรมอันดีของประชาชน
      1.  ลักษณะที่แสดงถึงความเจริญงอกงาม
            1.1  ความเจริญทางวัตถุ           1.2  ความงอกงามทางจิตใจ
2.  ลักษณะที่แสดงถึงความเป็นระเบียบเรียบร้อย
           2.1  ความเป็นระเบียบเรียบร้อยในการแต่งกาย จรรยามารยาทในที่สาธารณะ
           2.2  ความเป็นระเบียบเรียบร้อยในการปฏิบัติงานและการปฏิบัติต่อบ้านเมือง
           2.3  ความเป็นระเบียบเรียบร้อยในการประพฤติตนอันเป็นทางนำมาซึ่งเกียรติ ของชาติไทยและพุทธศาสนา
3.  ลักษณะที่แสดงถึงความกลมเกลียวก้าวหน้าของชาติ
          3.1  ความสามัคคีของหมู่คณะ             3.2  ความเจริญก้าวหน้าในทางวรรณกรรมและศิลปกรรม
          3.3  ความนิยมไทย
 4.  ลักษณะที่แสดงถึงศีลธรรมอันดีของประชาชน
            4.1  ทำตนให้เป็นคนมีศาสนา            4.2  การปฏิบัติตนในหลักธรรมของพุทธศาสนา
            4.3  การรักษาระเบียบประเพณีทางศาสนา            
ที่มาของวัฒนธรรม
        1.  ทฤษฎี Parallelism เชื่อว่า วัฒนธรรมเกิดขึ้นในที่ต่าง ๆ พร้อมกัน เนื่องจาก ธรรมชาติของมนุษย์คล้ายคลึงกันมาก
        2.  ทฤษฎี Diffusionism เชื่อว่า วัฒนธรรมเกิดจากศูนย์กลางแห่งเดียวกันและแพร่ กระจายออกไปยังชุมชนต่าง ๆ 
   

ปัจจัยที่ทำให้ชาวไทยได้สร้างวัฒนธรรมขึ้นมา

        1.  สภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์
        2.  ระบบเกษตรกรรม
        3.  ค่านิยมจากการที่ได้สะสมวัฒนธรรมต่อเนื่องกันเป็นเวลายาวนานจึงเป็นการหล่อหลอมให้เกิดแนวความคิด
             ความพึงพอใจ  และความนิยม
       4.  อิทธิพลจากวัฒนธรรมอื่น


   
อิทธิพลของวัฒนธรรมต่างชาติที่มีต่อสังคมไทย

 สาเหตุของการหลั่งไหลเข้ามาของวัฒนธรรมตะวันตก
        1.  ความเจริญด้านการคมนาคมขนส่ง
        2.  อิทธิพลจากสื่อมวลชนต่าง ๆ
        3.  การเผยแพร่วัฒนธรรมโดยตรง

 อิทธิพลของวัฒนธรรมต่างชาติในสังคมไทย มีผลต่อ
        1.  ระบบการศึกษา
        2.  ระบบการเมือง
        3.  ระบบเศรษฐกิจ
        4.  ระบบสังคมและวัฒนธรรม  


ประเภทของวัฒนธรรมไทย

1.  คติธรรม คือ วัฒนธรรมที่เกี่ยวกับหลักในการดำเนินชีวิต
2.  เนติธรรม  คือ วัฒนธรรมทางกฎหมาย รวมทั้งระเบียบประเพณีที่ยอมรับนับถือกันว่ามีความสำคัญเช่นเดียวกับกฎหมาย
3.  สหธรรม คือ วัฒนธรรมทางสังคม นอกจากหมายถึงคุณธรรมต่าง ๆ ที่ทำให้คนอยู่ร่วมกันอย่างผาสุขถ้อยที
     ถ้อยอาศัยกันแล้ว  ยังรวมถึงระเบียบมารยาทที่จะติดต่อเกี่ยวข้องกับสังคมทุกชนิด
4.  วัตถุธรรม คือ วัฒนธรรมทางวัตถุ  เช่นที่เกี่ยวข้องกับการกินดีอยู่ดี เครื่อง
     นุ่งห่ม บ้านเรือน และอื่น ๆ

เอกลักษณ์ของวัฒนธรรมไทย

1.  ความรักอิสรภาพหรือความเป็นไท
2.  การย้ำความเป็นตัวของตัวเองหรือปัจเจกบุคคลนิยม
3.  ความรู้สึกมักน้อย สันโดษ และพอใจในสิ่งที่มีอยู่
4.  การทำบุญและการประกอบการกุศล
5.  การย้ำการหาความสุขจากชีวิต
6.  การย้ำการเคารพเชื่อฟังอำนาจ
7.  การย้ำความสุภาพอ่อนโยนและความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่
8.  ความโอ่อ่า

0 Responses to “ความหมายของวัฒนธรรม”

Post a Comment