20120925

ความหลากหลายของวัฒนธรรม




วัฒนธรรมของชนต่างหมู่ต่างเหล่า มีความหลากหลายต่างกันไปด้วยเหตุนานาประการที่สำคัญๆ มีดังต่อไปนี้

1. ภูมิอากาศ ภูมิอากาศที่แตกต่างกันมีอิทธิพลต่อความเป็นอยู่ของมนุษย์ เช่น วัฒนธรรมของชาวเอสกิโมมีมูลเหตุมาจากความยากแค้นในการหาอาหาร มีเวลาที่ดวงอาทิตย์อยู่เหนือขอบฟ้าเพียง 6 เดือนในปีหนึ่งๆ ทุกคนในครอบครัวต้องหาอาหารเพื่อความอยู่รอดของตน จึงปรากฏว่า สมาชิกในครอบครัวไม่ค่อยมีโอกาสได้อยู่ร่วมกัน วัฒนธรรมของชนชาติในเขตมรสุม ซึ่งมีอาหารอุดมสมบูรณ์ การออกหาอาหารมักเป็นภาระของสมาชิกคนใดคนหนึ่งของครอบครัวเท่านั้น

2. ที่ตั้ง มนุษย์อาศัยอยู่ตามที่ตั้งต่างๆกันไป อาจเป็นบนภูเขาหรือในที่ราบลุ่มประเพณีต่างๆ จะเกิดขึ้นเพื่อให้ชีวิตของหมู่ชนปรับเข้ากับที่ตั้งนั้นได้ เช่น กลุ่มชนที่อยู่ในเขตร้อนมีประเพณีสงกรานต์ กลุ่มชนที่อยู่ในเขตหนาวมีประเพณีการเล่นรอบกองไฟ ชนที่อยู่ริมน้ำมีประเพณีแข่งเรือ

3. ความอุดมสมบูรณ์หรือความแร้นแค้น มนุษย์จะมีลักษณะนิสัยค่านิยม ตลอดจนแบบแผนในการดำเนินชีวิตแตกต่างกันไป ตามสภาพความอุดมสมบูรณ์ หรือความแร้นแค้น เช่น ชนที่อยู่ในที่อุดมสมบูรณ์มักจะมีความอารีเผื่อแผ่ ความสบายทำให้ไม่คิดวางแผนไปถึงกาลข้างหน้า มีชีวิตอย่างง่ายๆ ไม่วิตกกังวล กลุ่มชนที่แร้นแค้นก็จะหวงแหหนสมบัติทุกอย่างที่หามาได้ด้วยความยากลำบาก และอาจมีอุปนิสัยไปในทางยักยอกฉ้อฉล ค่านิยมของคนในวัฒนธรรมหนึ่งๆ เกิดจากเหตุธรรมชาติอยู่มิใช่น้อย

4. กลุ่มชนแวดล้อม กลุ่มชนแวดล้อมมีผลกระทบต่อวัฒนธรรมของกลุ่มชนที่อยู่ใกล้เคียง เช่น กลุ่มชนที่บังเอิญไปตั้งถิ่นฐานอยู่ในระหว่างชนกลุ่มน้อย ซึ่งมักรบกวนกลุ่มชนที่อยู่ใกล้ๆ ก็ต้องปราบให้ราบคาบจึงจะอยู่เป็นสุขได้ ทำให้เกิดค่านิยมไปในทางที่จะแสดงอำนาจ

5. นักปราชญ์หรือประมุขของกลุ่มชน เหตุประการสุดท้ายที่จะกล่าวถึงนี้ไม่มีผู้ใดแน่ใจว่า เป็นเหตุบังเอิญหรือเป็นเพราะสถาบันและค่านิยมในวัฒนธรรมนั้นเองเป็นต้นเหตุ ทำให้ปราชญ์จำนวนมากมีความคิดเผยแพร่ความรู้ และบางหมู่ก็เกิดประมุขที่ดี เมื่อเกิดวิกฤตการณ์อย่างใดอย่างหนึ่งขึ้น ก็สามารถป้องกันศัตรูและสร้างสรรค์ความเจริญให้แก่ใหม่ของตน

0 Responses to “ความหลากหลายของวัฒนธรรม”

Post a Comment