20120927

ประเพณีและวัฒนธรรมไทย ประเพณีไทย อารยธรรมไทย











ประเพณีและวัฒนธรรมไทย
ประเพณีไทย อารยธรรมไทย ประเพณีไทยอันดีงามที่สืบทอดต่อกันมานั้น ล้วนแตกต่างกันไปตามความเชื่อ ความผูกพันของผู้คนต่อพุทธศาสนาและการดำรงชีวิตที่สอดประสานกับฤดูกาลและ ธรรมชาติอย่างชาญฉลาดของชาวบ้านในแต่ละท้องถิ่นทั่วแผ่นดินไทย เช่น ภาคเหนือ ประเพณีบวชลูกแก้วของคนไตหรือชาวไทยใหญ่ที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน ภาคอีสาน ประเพณีบุญบั้งไฟของชาวจังหวัดยโสธร ภาคกลาง ประเพณีทำขวัญข้าวจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ภาคใต้ ประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุของชาวจังหวัดนครศรีธรรมราช เป็น ต้น นอกจากนี้ ประเพณีแอารธรรมไทยยังนำมาซึ่งการท่องเทียว เป็นที่รู้จักและประทับใจแก่ชาติอื่นนับเป็นมรดกอันลำค่าที่เราคนไทยควร อนุรักษ์และสืบสานให้ยิ่งใหญ่ตลอดไป

» ประเพณีลอยกระทง. ประเพณีลอยกระทง ซึ่งตรงกับวันเพ็ญ เดือน 12 เริ่มขึ้นครั้งแรก ในสมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี โดยมีนางนพมาศ หรือท้าวศรีจุฬารัตน์ พระสนมเอกแห่งพระร่วงเจ้า เป็นผู้ให้กำเนิด

» พิธีแห่เทียนพรรษา. ส่วนความเป็นมาของเทศกาลแห่เทียนของชาวเมืองอุบลนั้น แต่ก่อนไม่ได้แห่เทียนเหมือนในปัจจุบัน แต่จะทำการฟั่นเทียน ยาวรอบศีรษะไปถวายพระเพื่อจุดบูชาในช่วงจำพรรษา นอกจากเทียนแล้วยังมีน้ำมัน เครื่องไทยทาน และผ้าอาบน้ำฝนพอมาถึงสมัยกรมหลวงสรรพสิทธิ์ประสงค์ เป็นผู้สำเร็จราชการเมืองอุบล ครั้งหนึ่งได้มีการแห่บั้งไฟและได้เกิดเรื่องมีการตีกันทำให้มีคนเสียชีวิต จึงทำให้ถูกเลิกการแห่บั้งไฟ และได้เปลี่ยนมาเป็นการแห่เทียนแทน

» พฤศจิกายน ประเพณีลอยโคม จ.เชียงใหม่. งานประเพณีพื้นบ้านในวันเพ็ญเดือน ๑๒ ของชาวล้านนาจังหวัดเชียงใหม่ ที่มีความเชื่อในการปล่อยโคมลอยซึ่งทำด้วยกระดาษสาติดบนโครงไม้ไผ่แล้วจุด ตะเกียงไฟตรงกลางเพื่อให้ไอความร้อนพาโคมลอยขึ้นไปในอากาศเป็นการปล่อย เคราะห์ปล่อยโศกและเรื่องร้ายๆต่างๆ ให้ไปพ้นจากตัว

» กรกฎาคม ประเพณีแห่เทียนพรรษา จ.อุบลราชธานี. ประเพณีที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของจังหวัดอุบลราชธานี มีขึ้นในช่วงวันอาสาฬหบูชาและวันเข้าพรรษาของทุกปี โดยคุ้มวัดต่างๆ จะจักทำต้นเทียนแกะสลักอันงดงามแห่แหนไปรอบเมืองก่อนที่จะนำไปถวายตามอุโบสถ ของวัดต่างๆ ต่อไป

» ประเพณีบุญบั้งไฟ จ.ยโสธร. ประเพณีพื้นบ้านของชาวอีสานที่ผูกพันกับความเชื่อในเรื่องการขอฝนด้วยการทำ บั้งไฟจุดขึ้นไปบนฟ้าเพื่อขอฝนจากพญาแถน ซึ่งเป็นงานประเพณีที่จัดขึ้นในวันเสาร์และอาทิตย์ที่ ๒ เดือนพฤษภาคมของทุกปี

» กุมภาพันธ์ ประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุ จ.นครศรีธรรมราช. งานประเพณีสำคัญที่จัดขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี เพื่อนมัสการองค์พระบรมธาตุเมืองนครศรีธรรมราชในงานมีการกวนข้าวมธุปายาส ประกวดผ้าพระบฏและโคมประดับ และมีการแห่ผ้าขึ้นธาตุไปตามถนนแล้วนำไปห่มองค์พระธาตุเป็นการสักการบูชา

» ประเพณีวิ่งควายของจังหวัดชลบุรี. นอกจากจะจัดให้มีการแข่งขันวิ่งควาย ประกวดความงามของควาย และประกวดสุขภาพของควายแล้วยังมีการ "สู่ขวัญควาย" หรือทำขวัญควายไปในตัวอีกด้วยแม้ปัจจุบันเกษตรกรส่วนใหญ่ในประเทศจะหันมาใช้ เครื่องจักรกลหรือที่เรียกว่าควายเหล็กช่วยผ่อนแรงในการทำนาแล้วก็ตาม แต่ชาวชลบุรีก็ยังคงอนุรักษ์ประเพณีท้องถิ่นอันแปลกนี้อยู่ เพราะนอกจากจะเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดแล้ว ยังเป็นเครื่องแสดงถึงความสามัคคีของชาวชลบุรีอีกด้วย

» ประเพณีทำขวัญข้าวของชาวนา. ประเพณีทำขวัญข้าวเป็นพิธีสำคัญของชาวนา เมื่อต้นข้าวแตกกอเขียวงอกงามแล้วจึงทำพิธี " ขวัญข้าว "

» การตักบาตรเทโว. ประวัติความเป็นมา ในสมัยพุทธกาล เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสรู้และเสด็จขึ้นไปโปรดพระพุทธมารดา โดยจำพรรษาอยู่ ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เป็นเวลา 1 พรรษา และเมื่อออกพรรษาแล้วพระองค์ได้เสด็จกลับโลกมนุษย์ ณ เมืองสังกัสสนครการ

» ประเพณีแข่งเรือ จ.บุรีรัมย์. ประเพณีพื้นบ้านที่แสดงให้เห็นถึงวิธีชีวิตของคนไทยอันผูกพันกับสายน้ำมา เนิ่นนานโดยในฤดูฝนเมื่อเสร็จสิ้นการดำนา นับจากเดือนสิงหาคมเป็นต้นไป จนถึงราวเดือนพฤศจิกายนที่น้ำหลากเต็มตลิ่ง ชาวบ้านก็จะจัดงานแข่งเรือกันขึ้นเพื่อความสนุกสนาน และการสมัครสมานสามัคคีกัน

» ประเพณีรำบวงสรวงพระธาตุพนม จ.นครพนม. งานบุญยิ่งใหญ่ของชาวจังหวัดนครพนม ที่จัดขึ้นเพื่อนมัสการองค์พระธาตุพนมในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ ของทุกๆ ปี

» เด็กไทยเล่นหมากเก็บ. วิธีเล่น ใช้ก้อนกรวดที่มีลักษณะกลมๆ 5 ก้อน เสี่ยงทายว่าใครจะเล่นก่อน โดยวิธีขึ้นร้าน คือ ถือหมากทั้งห้าเม็ดไว้แล้วโยนพลิกหงายหลังมือรับ แล้วพลิกมือกลับรับอีกที ใครเหลือหินอยู่ในหินอยู่ในมือมากที่สุดคนนั้นเล่นก่อน มีทั้งหมด 5 หมาก หมากที่ 1 ทอดหมากให้ห่างๆ กัน เลือกลูกนำไว้ 1 เม็ด ควรใช้เม็ดกรวดที่ห่างที่สุด โยนเม็ดนำขึ้นแล้วเก็บทีละเม็ดพร้อมกับรับลูกนำที่หล่นลงมาให้ได้ ถ้ารับไม่ได้ถือว่า "ตาย" ขณะที่หยิบเม็ดที่ทอดนั้น ถ้ามือไปถูกเม็ดอื่นถือว่า ตาย

» การของเด็กไทย เล่นโพงพาง. เลือกคนที่เป็นปลา โดยการจับไม้สั้นไม้ยาว เอาผ้าผูกตาคนที่เป็นปลา แล้วหมุน 3 รอบ ผู้เล่นคนอื่นๆ ล้อมวงจับมือกันเดินเป็นวงกลม พร้อมร้องเพลงประกอบ เมื่อจบเพลงนั่งลง ถามว่า "ปลาเป็นหรือปลาตาย" ถ้าตอบว่า "ปลาเป็น" คนที่อยู่รอบวงจะขยับเขยื้อนหนีได้ ถ้าบอก "ปลาตาย" จะต้องนั่งอยู่เฉยๆ คนที่ถูกปิดตาทายถูกก็ต้องมาเป็นแทน ถ้าทายผิดต้องเป็นต่อไป ผู้ที่เป็นปลา ซึ่งถูกปิดตาจะต้องทายว่า ผู้ที่ถูกจับได้เป็นใคร และชื่อว่าอะไร

» การของเด็กไทย เล่นซ่อนหาหรือโป้งแปะ. วิธีเล่น จับไม้สั้นไม้ยาว เพื่อหาว่าใครจะเป็นคนหาก่อน เมื่อได้แล้วก็ปิดตา คนอื่นๆ ไปซ่อน คนปิดตาถาม "เอาหรือยัง" ถ้าผู้ซ่อนคนใด หรือหลายคนร้องว่า "ยัง" ก็ยังเปิดตาไม่ได้ รอจนกว่าผู้ซ่อนจะร้องว่า "เอาละ" จึงเปิดตาได้และค้นหาผู้ซ่อน เมื่อหาพบต้องส่งเสียงดังๆ เพื่อให้รู้ว่าพบใครคนหนึแล้วผู้ซ่อนทั้งหลายก็ออกมาจากที่ซ่อน ถ้าเล่นโป้งแปะ จะต้องร้องว่า "โป้ง….(ชื่อผู้ที่พบ)" ถ้าผู้ซ่อนถึงตัวผู้หา และร้องว่า "แปะ" ก่อน ผู้นั้นต้องเป็นต่อไป ผู้เล่นจะต้องซ่อนคนเดียว ที่เดียวกันจะซ่อนมากกว่า 1 คนไม่ได้

» การเล่นของเด็กไทย เล่นตี่จับ. แบ่งเป็น 2 ฝ่ายเท่าๆกัน และจับไม้สั้นไม้ยาวว่าใครจะเริ่มตี่ก่อน ฝ่ายที่ตี่ก่อน เริ่มเล่นโดยเลือกพวกของตนคนหนึ่งเป็นคนเข้าไปตี่ คนตี่จะออกเสียง "ตี่" หรือ "หึ่ม" เข้าไปในแดนฝ่ายตรงข้าม ในขณะเดียวกันฝ่ายตรงข้ามต้องคอยยึดตัวไม่ให้กลับเข้าแดนของตนได้ จนกว่าจะขาดเสียงผู้นั้นต้องมาเป็นเชลยของฝ่ายตรงข้าม แต่ถ้าสามารถหนีกลับเข้าแดนตนได้ คนที่ถูกแตะจะกี่คนก็ตามต้องไปเป็นเชลยสลับกัน เมื่อมีฝ่ายของตนเป็นเชลย ผู้ที่ตี่คนต่อไปต้องพยายามช่วยพวกของตนกลับมาให้ได้ ฝ่ายตรงข้ามต้องคอยกันไม่ให้แตะกันได้ ถ้าแตะกันได้เชลยจะได้กลับแดนของตน เล่นกันเช่นนี้จนกว่าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะหมดตัวผู้เล่นก่อน ฝ่ายชนะมีสิทธ์จะให้ฝ่ายแพ้ทำอะไรก็ได้

» การเล่นของเด็กไทย เล่นรีรีข้าวสาร. วิธีเล่น จับไม้สั้นไม้ยาว ให้ผู้เล่น 2 คน ยืนเอามือประสานกันเหนือศีรษะเป็นประตูโค้ง คนอื่นๆ เกาะไหล่กันลอดใต้โค้งไปเรื่อยๆ สองคนที่เป็นประตูจะร้องเพลงประกอบเวลา แถวลอดใต้โค้งหัวแถวจะต้องเดินอ้อมหลังคนที่เป็นประตูครั้งละหน เมื่อจบเพลงสอง คนที่เป็นประตูจะกระดุกแขนลงกั้นคนสุดท้ายให้อยู่ระหว่างกลาง คัดออกไป คนข้างหลังต้องระวังตัวให้ดี มิฉะนั้นตนเองต้องออกจากการเล่น ต้องผ่านให้ได้หมดทุกคนจึงจะจบ

» การของเด็กไทย เล่นจ้ำจี้. การของเด็กไทย เล่นจ้ำจี้ ผู้เล่นนั่งล้อมวงกัน คว่ำมือทั้งสองลงบนพื้น คนหนึ่งเป็นคนจี้ โดยใช้นิ้วชี้จิ้มไปที่นิ้วของผู้เล่นไล่ไปทีละนิ้วให้รอบวง พร้อมทั้งร้องเพลงไปด้วย เมื่อร้องจบแล้ว จิ้มอยู่ที่นิ้วใดคนนั้นต้องพับนิ้วนั้นเข้าไป ผู้จิ้มก็เริ่มเล่นใหม่ไปเรื่อยๆ ใครต้องพับนิ้วทั้งหมดเ ป็นคนแรกแพ้

» การเล่นของเด็กไทย เล่นเดินกะลา. เอาเชือกเส้นหนึ่งยาวประมาณ 1 วา ร้อยกะลามะพร้าว 2 อัน แล้วผู้เล่นขึ้นไปยืนบนกะลามะพร้าว โดยใช้นิ้วหัวแม่เท้ากับนิ้วชี้หนีบเส้นเชือกเอาไว้ทั้ง 2 เท้า (เหมือนกับหนีบรองเท้าฟองน้ำ) เมื่อ

» Songkran Festival วันสงกรานต์. Welcome to "Songkran Day" This is a Thai traditional New Year which starts on April 13th every year. ประเพณีวันสงกรานต์ปกติมีทั้งหมด๓วัน คือเริ่มตั้งแต่วันที่ ๑๓ เมษายน ถึง ๑๕ เมษายน โดยถือเอาวันที่ ๑๓ เป็นวันต้น หรือวันมหาสงกรานต์ วันที่ ๑๔ เป็นวันเนาหรือวันกลาง และวันที่ ๑๕ เป็นวันเถลิงศก หรือวันสุดท้าย แต่วันต้นวันเนาวันเถลิงศกนี้ หากนับทางจันทรคติหรือคำนวณทางโหราศาสตร์อาจจะคลาดเคลื่อนกันบ้างในแต่ละปี

» ตรุษจีนในประเทศไทย. ชาวไทยเชื้อสายจีนจะถือประเพณีปฏิบัติอยู่ 3 วัน คือวันจ่าย วันไหว้ และวันปีใหม่

» วันสำคัญ วันโกนและวันพระ. วันโกน คือ วัขขึ้น 7 ค่ำกับ 17 ค่ำ และวันแรม 7 ค่ำกับ 14 ค่ำ ของทุกเดือน (หรือ วันแรม 13 ค่ำ หากตรงกับเดือนขาด)ซึ่งเป็นวันก่อนวันพระ1วัน วันพระ คือ วันขึ้น 8 ค่ำกับ 15 ค่ำ และวันแรม 8 ค่ำกับ 15 ค่ำ ของทุกเดือน(หรือวันแรม 14 ค่ำ หากตรวกับเดือนขาด)

» วันสำคัญ วันขึ้นปีใหม่. แต่เดิมประเทศไทยได้ถือเอา วันแรม ๑ ค่ำเดือนอ้าย เป็นวันขึ้นปีใหม่ ต่อมาได้เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่เป็นวันขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๕ ซึ่งตรงกับวันสงกรานต์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยูหัวจึงให้ถือเอาวันที่ ๑ เมษายนเป็นวันขึ้นปีใหม่ของไทยนับแต่นั้นมา

» วันสำคัญ วันวิสาขบูชา. เมื่อถึงวันวิสาขบูชา ทางราชการกำหนดให้เป็นวันหยุดราชการ 1 วัน ชาวพุทธจะประกอบพิธีกรรมตามประเพณีนิยมดังนี้ 1. ทำบุญตักบาตร ฟังเทศน์ รักษาศีล 2. ประกอบพิธีเวียนเทียน 3. บำเพ็ญสาธารณประโยชน์ วันวิสาขบูชาย่อมาจากคำว่า วิสาขปุรณนีบูชา หมายถึง การบูชาในวันเพ็ญเดือนวิสาขะ (เดือน6) ในวันนี้ได้มีเหตุการณ์ที่สำคัญเกิดขึ้นได้แก่........

» วันสำคัญ วันสงกรานต์. ประเพณีวันสงกรานต์ปกติมีทั้งหมด๓วัน คือเริ่มตั้งแต่วันที่ ๑๓ เมษายน ถึง ๑๕ เมษายน โดยถือเอาวันที่ ๑๓ เป็นวันต้น หรือวันมหาสงกรานต์ วันที่ ๑๔ เป็นวันเนาหรือวันกลาง และวันที่ ๑๕ เป็นวันเถลิงศก หรือวันสุดท้าย แต่วันต้นวันเนาวันเถลิงศกนี้ หากนับทางจันทรคติหรือคำนวณทางโหราศาสตร์อาจจะคลาดเคลื่อนกันบ้างในแต่ละปี

» วันสำคัญ วันมาฆบูชา. ประชาชนจะจัดเตรียมเครื่องสัการะ เช่น ดอกไม้ ธูป เทียน ไปพร้อมกันที่วัดในเวลาเย็นหรือค่ำ เพื่อประกอบพิธีมาฆบูชา การประกอบพิธีกรรมจะทำที่โบสถ์ เพราะหลังจากฟังโอวาทและสวดมนต์เสร็จแล็ว จะทำการเวียนเทียนรอบโบสถ์ ในการเดินเวียนเทียนรรอบโบสถ์ จะกระทำ3รอบ โดยเวียนไปทางขวาเรียกว่า เวียนแบบทักขิณาวัฏ ในขณะเดินเวียนเทียน ต้องทำจิตใจให้มีสมาธิ สงบและแน่วแน่อยู่กับบทบูชาพระพุทธคุณ พระธรรมคุณและพระสังฆคุณ ไม่ควรส่งเสียงพูดคุยเสียงดังหรือเดินแซงผู้ที่เดินนำอยู่ข้างหน้า

» วันสำคัญ วันออกพรรษา. การประกอบพิธีสำคัญในวันนี้ เหล่าชาวพุทธจะนิยมทำบูญกุศลเป็นกรณีพิเศษ เช่น ตักบาตรในตอนเช้า ถวายสังฆทาน ไปทำบุญที่วัด ถวายภัตตาหาร ฟังพระธรรมเทศนา และมีการตักบาตรเทโวในวันรุ่งขึ้นโดย เรียกกันเต็ม ๆ ว่า ตักบาตรเทโวโรหนะ คือตักบาตรเนื่องในวันคล้ายวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงมาจากเทวโลก

» วันสำคัญ วันเข้าพรรษา. การเข้าพรรษานั้นเป็นกิจกรรมของพระสงฆ์โดยเฉพาะ เดิมทีนั้นพระพุทธองค์ยังมิได้บัญญัติพระวินัยเรื่องการเข้าพรรษาของพระสงฆ์ แต่ต่อมาพระภิกษุสงฆ์ที่ออกไปเผยแผ่พระศาสนาในฤดูฝนนั้นได้เหยียบย่ำพืชที่ ชาวบ้านปลูกเอาไว้ ทำให้ได้รับความเสียหาย ต่อมาประชาชนได้ไปกราบทูลต่อพระพุทธเจ้า ดังนั้นเพื่อมิให้ประชาชนเดือดร้อน พระพุทธองค์จึงทรงบัญญัติให้พระภิกษุสงฆ์อยู่ประจำพรรษาในฤดูฝนตลอดระยะเวลา 3 เดือน (ภาพจากจังหวัดชัยภูมิ)

» วันสำคัญ วันอาสาฬหบูชา. อาสฬหบูชา ย่อมาจากคำว่า อาสาฬหปุรณมีบูชา แปลว่า การบูชาในวันเพ็ญเดือน อาสาฬห คือ เดือน 8 ถือเป็นวันสำคัญวันหนึ่งในพระพุทธศาสนา เพราะมีเหคชตุการณ์สำคัญเกิดขึ้น 3 ประการคือ....

0 Responses to “ประเพณีและวัฒนธรรมไทย ประเพณีไทย อารยธรรมไทย ”

Post a Comment